นักวิชาการชี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยลิดรอนเสรีภาพทางศาสนา
-
นายกิตติชัย จงไกรจักร ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฏหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายระบุว่า หลังการเผยแพร่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปรากฏว่ามีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับมาตราที่คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา และการรับรองสถานะของพระพุทธศาสนาซึ่งไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน ซึ่งอาจส่งผลเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางศาสนาได้หากร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้
-
ทั้งนี้ เนื้อความของรัฐธรรมนูญสองมาตราที่มีปัญหา คือมาตราที่ 31 ว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ และในมาตราที่ 67 ซึ่งเขียนให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ทั้งให้รัฐมีมาตรการปกป้องการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา
นายกิตติชัยระบุว่า เนื้อความในมาตราที่ 31 นั้น ถูกย่นย่อลงจากข้อความเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 โดยข้อบัญญัติที่ว่า "รัฐจะกระทำการอันเป็นการลิดรอนสิทธิ จากเหตุความเชื่อทางศาสนาไม่ได้" ซึ่งเป็นหลักประกันทางเสรีภาพด้านศาสนาที่มีอยู่เดิมได้หายไป ซึ่งตนไม่แน่ใจว่ารัฐจะมีหลักประกันทดแทนอย่างไร สำหรับผู้นับถือศาสนาที่ไม่เป็นไปในแนวทางของรัฐ ทั้งนี้ คิดว่าประชาชนควรยืนยันให้มีข้อความรับประกันเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญ ตามที่มีมาตั้งแต่ในอดีต
-
นอกจากนี้ มาตราที่ 31 ได้มีการเพิ่มข้อบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อและศาสนาที่ยึดถือ โดยมีข้อแม้ว่า "ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ" ซึ่งข้อความนี้มีความหมายที่กว้าง อาจเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในสถาบันทางศาสนานำไปตีความ และอาจส่งผลกระทบต่อคนที่มีความเชื่อแตกต่างจากตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล
นายกิตติชัยกล่าวอีกว่า สำหรับมาตราที่ 67 มีการตัดข้อความที่ระบุให้รัฐเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนา ซึ่งเคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ออก แต่กลับไปเน้นที่การอุปถัมภ์ "พระพุทธศาสนาเถรวาท" ซึ่งในกรณีนี้ ไม่เพียงเป็นการกำกับควบคุมความเชื่อและเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่น แต่ในหมู่พุทธบริษัทด้วยกัน นิกายอื่น ๆ จะถูกละเลย โดยเชื่อว่าการบัญญัติมาตรานี้อาจมาจากแรงกดดันให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็เป็นได้
-
"รัฐไม่ควรมีนโยบายด้านศาสนา เพราะในรัฐที่มีประชาธิปไตย มีหลักนิติธรรม ต้องให้ความคุ้มครองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนเรื่องศาสนานั้นเป็นเสรีภาพของปัจเจก รัฐจะไปอุปถัมป์ศาสนาใดศาสนาหนึ่งไม่ได้ เพราะจะนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันในทางศาสนา และการเลือกปฏิบัติ" นายกิตติชัยกล่าว
-
ด้านภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า กลุ่มภิกษุณีคาดหวังว่ารัฐจะให้ความสนใจในเรื่องความเสมอภาค แต่ทันทีที่ไประบุว่าเป็นพุทธเถรวาท ก็มีนัยว่ารัฐจะมากำหนดทิศทางการนับถือศาสนาของคนในประเทศนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วความเชื่อทางศาสนาเป็นเสรีภาพที่กฏหมายอนุญาตเอาไว้
-
ด้านนายสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ประเด็นที่ตนให้ความสนใจคือ การตีความถึงคำว่า "เถรวาท" เป็นเถรวาทของสำนักไหนและเถรวาทฝ่ายไหนจะได้ประโยชน์ ซึ่งตนมองว่าอาจเป็นฝ่ายที่ใกล้ชิดกับรัฐ ซึ่งเรื่องนี้อาจนำมาสู่ปัญหาความแตกแยกทางศาสนาได้
-
นายกิตติชัย จงไกรจักร ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฏหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายระบุว่า หลังการเผยแพร่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปรากฏว่ามีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับมาตราที่คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา และการรับรองสถานะของพระพุทธศาสนาซึ่งไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน ซึ่งอาจส่งผลเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางศาสนาได้หากร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้
-
ทั้งนี้ เนื้อความของรัฐธรรมนูญสองมาตราที่มีปัญหา คือมาตราที่ 31 ว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ และในมาตราที่ 67 ซึ่งเขียนให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ทั้งให้รัฐมีมาตรการปกป้องการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา
นายกิตติชัยระบุว่า เนื้อความในมาตราที่ 31 นั้น ถูกย่นย่อลงจากข้อความเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 โดยข้อบัญญัติที่ว่า "รัฐจะกระทำการอันเป็นการลิดรอนสิทธิ จากเหตุความเชื่อทางศาสนาไม่ได้" ซึ่งเป็นหลักประกันทางเสรีภาพด้านศาสนาที่มีอยู่เดิมได้หายไป ซึ่งตนไม่แน่ใจว่ารัฐจะมีหลักประกันทดแทนอย่างไร สำหรับผู้นับถือศาสนาที่ไม่เป็นไปในแนวทางของรัฐ ทั้งนี้ คิดว่าประชาชนควรยืนยันให้มีข้อความรับประกันเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญ ตามที่มีมาตั้งแต่ในอดีต
-
นอกจากนี้ มาตราที่ 31 ได้มีการเพิ่มข้อบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อและศาสนาที่ยึดถือ โดยมีข้อแม้ว่า "ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ" ซึ่งข้อความนี้มีความหมายที่กว้าง อาจเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในสถาบันทางศาสนานำไปตีความ และอาจส่งผลกระทบต่อคนที่มีความเชื่อแตกต่างจากตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล
นายกิตติชัยกล่าวอีกว่า สำหรับมาตราที่ 67 มีการตัดข้อความที่ระบุให้รัฐเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนา ซึ่งเคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ออก แต่กลับไปเน้นที่การอุปถัมภ์ "พระพุทธศาสนาเถรวาท" ซึ่งในกรณีนี้ ไม่เพียงเป็นการกำกับควบคุมความเชื่อและเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่น แต่ในหมู่พุทธบริษัทด้วยกัน นิกายอื่น ๆ จะถูกละเลย โดยเชื่อว่าการบัญญัติมาตรานี้อาจมาจากแรงกดดันให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็เป็นได้
-
"รัฐไม่ควรมีนโยบายด้านศาสนา เพราะในรัฐที่มีประชาธิปไตย มีหลักนิติธรรม ต้องให้ความคุ้มครองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนเรื่องศาสนานั้นเป็นเสรีภาพของปัจเจก รัฐจะไปอุปถัมป์ศาสนาใดศาสนาหนึ่งไม่ได้ เพราะจะนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันในทางศาสนา และการเลือกปฏิบัติ" นายกิตติชัยกล่าว
-
ด้านภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า กลุ่มภิกษุณีคาดหวังว่ารัฐจะให้ความสนใจในเรื่องความเสมอภาค แต่ทันทีที่ไประบุว่าเป็นพุทธเถรวาท ก็มีนัยว่ารัฐจะมากำหนดทิศทางการนับถือศาสนาของคนในประเทศนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วความเชื่อทางศาสนาเป็นเสรีภาพที่กฏหมายอนุญาตเอาไว้
-
ด้านนายสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ประเด็นที่ตนให้ความสนใจคือ การตีความถึงคำว่า "เถรวาท" เป็นเถรวาทของสำนักไหนและเถรวาทฝ่ายไหนจะได้ประโยชน์ ซึ่งตนมองว่าอาจเป็นฝ่ายที่ใกล้ชิดกับรัฐ ซึ่งเรื่องนี้อาจนำมาสู่ปัญหาความแตกแยกทางศาสนาได้
Cr.BBC Thai
No comments:
Post a Comment