"โปลิตบูโร" สูตรสำเร็จ คสช.
วาระนี้ก็คือการรอลุ้นว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ที่คาดการณ์กันล่วงหน้าว่าจะเป็นคนนั้นคนนี้โดยเฉพาะจะมีทหารเข้ามาคุมงาน สำคัญๆก็ว่ากันไป
เอาเป็นว่ารอให้ถึงวันนั้นก็คงจะได้เห็นกันเอง อยู่ที่ว่าคลอดออกมาแล้วหน้าตาจะเป็นอย่างไรนั่นแหละสำคัญที่สุด
ที่ ว่าอย่างนี้ก็เพราะแม้ว่า คสช.จะมีอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ถ้ารัฐมนตรีที่ออกมามีเสียงร้อง "ยี้" การเริ่มต้นบริหารประเทศก็จะเกิดปัญหาในความเชื่อมั่นมากพอสมควร
จะตั้งใครก็ควรคิดหรือตัดสินใจให้รอบคอบเสียก่อน
โดย เฉพาะกระทรวงสำคัญด้านเศรษฐกิจซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าต้องการผู้ชำนาญการ เข้ามาดูแล เพราะเศรษฐกิจไทยนั้นยังมีปัญหาค่อนข้างมากแม้พื้นฐานดีก็จริงแต่เนื่องจาก หลายปีที่ผ่านมานั้นตกต่ำลงไปมาก
กอปรกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นอย่างแท้จริงย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างแยกไม่ได้
อีก ตำแหน่งหนึ่งที่น่าจะต้องหาคนที่มีความรอบรู้จริง มีบารมีพอสมควรคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งจะต้องได้รับการ ยอมรับจากนานาชาติ
ทั้งนี้ก็คงเพราะประเทศไทยหลังจากที่ คสช.เข้ามาควบคุมอำนาจการปกครองได้เกิดปัญหาการยอมรับจากต่างประเทศเป็นต้น ว่า สหรัฐฯ และอียู แม้ว่าได้มีการทำความเข้าใจ ตลอดจนการชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็น ทำให้สถานการณ์และบรรยากาศดีขึ้นมาบ้าง
แต่เมื่อมีการตั้งรัฐบาลใหม่ แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศถือเป็นตำแหน่งสำคัญอย่างน้อยก็รองจากนายกฯ หาก คสช.ตัดสินใจให้ "ทหาร" เข้ามาทำหน้าที่นี้ ก็คงไม่สอดรับกับสภาพความเป็นจริง
จึงน่าจะเป็น "พลเรือน" มากกว่า
ก็ลองคิดเรื่องนี้ให้ตกผลึกก็แล้วกัน
มา ว่ากันอีกเรื่องดีกว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ออกมานั้นยังคงอำนาจ คสช.เอาไว้เต็มๆด้วยบทเรียนทางการเมืองที่ผ่านมาเมื่อหัวหน้าคณะปฏิวัติยึด อำนาจมาได้แล้วก็มีการตั้งรัฐบาลด้วยการยกตำแหน่งผู้นำรัฐบาลให้บุคคลอื่น
เท่ากับว่า "ขาลอย" ไปทันทีไม่สามารถควบคุมได้
แนวคิด ใหม่ก็คือการคงอำนาจ คสช.เอาไว้อย่างมั่นคง เพียงแต่ว่าจะวางฐานะเอาไว้ตรงไหน รวมถึงการให้หัวหน้า คสช.เข้าไปสวมตำแหน่งนายกฯอีกชั้นหนึ่งด้วย
การดำรงอยู่ของ คสช.จึงกลายสภาพเป็นการปกครองในลักษณะที่มีรัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุมของ คสช.อีกชั้นหนึ่ง
คือรูปแบบ "โปลิตบูโร" ที่คล้ายกับการปกครองของประเทศจีน
เริ่ม ต้นของ คสช.นั้นมีสมาชิก 6 คน คือ พล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้าใหม่ มี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรอง คสช. และ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รอง ผบ.ทบ.เป็นเลขาธิการ คสช.
จากนั้นใน รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้วางกรอบให้ คสช.เพิ่มจำนวนได้เป็น 15 คน นัยว่าเพื่อรองรับนายทหารที่จะขึ้นมารับตำแหน่งสำคัญแทน ผบ.เหล่าทัพที่จะต้องเกษียณอายุราชการพร้อมกันหมดทุกคนจึงนำบุคคลเหล่านี้ เข้ามาอยู่ใน คสช. ด้วย
เพื่อให้เกิดความมั่นคงในอำนาจอย่างแท้จริง เชื่อว่านอกจาก ผบ.เหล่าทัพแล้วน่าจะพ่วง ผบ.ตร. คนใหม่เข้ามาด้วย และมีข่าวว่าจะมีพลเรือนที่ชำนาญการด้านกฎหมายและเศรษฐกิจด้วย
รูป แบบการบริหารประเทศจึงมี คสช. เป็น "โปลิตบูโร" ที่ควบคุมการทำงานของรัฐบาลอีกชั้นหนึ่งไม่ใช่ทำหน้าที่ดูแลแค่ด้านความ มั่นคงเท่านั้น
แบบว่ารวบหัวรวบหางกินกลางตลอดตัว...ว่างั้นเถอะ.
"สายล่อฟ้า"
No comments:
Post a Comment