การใช้ Single Gateway กับระบบ Internet ของประเทศไทย จะเกิดผลเช่นใด? ตามกฏหมายระหว่างประเทศ
ผม ขอให้คำตอบ แก่ท่านผู้อ่านโดยสังเขป ดังต่อไปนี้:
๑. องค์การสหประชาชาติ และ นานาชาติ ได้ประกาศ และบังคับใช้ (สนธิสัญญา ว่าด้วย) Electrical Communication แล้ว
๒. สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวมา ข้างต้น ได้บัญญัติให้การติดต่อ สื่อสาร ระหว่างกันทาง Internet ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ สนธิสัญญานี้
๓. แม้ประเทศไทย จะไม่เป็นรัฐคู่ภาคีของ สนธิสัญญาฉบับนี้ ด้วยการให้สัตยาบัน เป็นลายลักษณ์อักษร ประเทศไทย มีสถานะเป็นแค่เพียง ประเทศที่ลงนามรับรู้สนธิสัญญา (Signatory State)
๔. แต่ประเทศไทย ไปขอใช้ และรับเอา Model Law (กฏหมายต้นแบบ ที่มีที่มาจาก สนธิสัญญา) มาประกาศ และ บังคับใช้ เป็นส่วนหนึ่งของ กฏหมายไทย
๕. เรื่องราวเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ ในเว็ปไซด์ของ องค์การสหประชาชาติ ให้เข้าไปดู แล้วไปที่ UN CITRAL คนไทยทั้งหลาย ก็จะได้รับรู้เสียที
๖. การที่ไปคัดลอกเอา กฏหมายต้นแบบของเขา มาบังคับใช้ เป็นกฏหมายภายในของ ประเทศไทย เช่นนี้ เป็นยิ่งกว่า การให้สัตยาบัน เป็นลายลักษณ์อักษร เราเรียก การกระทำเช่นที่ว่านี้ ว่า " เป็นการให้สัตยาบัน โดย การกระทำที่ดียิ่งเสียกว่า การให้สัตยาบัน ต่อสนธิสัญญา ด้วยลายลักษณ์อักษร"
๗. ประเทศไทย ต้องถูกผูกพันด้วย การกระทำการของตนเอง ปรากฏ เป็นหลักฐาน ในสายตาชาวโลก ต้องถามตรงนี้ว่า "เราชาวไทย จะเขียนด้วยมือ แล้วลบด้วยเท้า" หรือไม่? ถ้าอยากทำเชิญเลยครับ
๘. กลไกในการแก้ปัญหา หรือ ข้อพิพาท ที่เกิดขึ้น ในเรื่องการประกาศ และบังคับใช้ Single Gateway ตามสนธิสัญญา ที่กล่าวถึงนี้ข้างต้น สนธิสัญญาฉบับที่อ้างถึงนี้ ก็คือ การต้องตั้งอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มาแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ในระหว่างรัฐ กับประชาชน หรือ ประชาชน กับ ประชาชน
๙. เมื่อประเทศ ประกาศ และ บังคับใช้ Single Gate Way ก็จะเจอกับ ปัญหาที่ว่าทันที มีข้อพิพาทเกิดขึ้น ในระหว่าง รัฐ กับเอกชน ศาลในประเทศไทยทั้งหมด เข้าไปแตะต้องกับปัญหานี้ ไม่ได้ เพราะ:
๙.๑ สนธิสัญญา บัญญัติวิธีการเอาไว้แล้ว โดยเฉพาะ ต้องถือว่า ไม่มีเขตอำนาจศาลไทยเหนือคดี (No Subject - Matter Jurisdiction over Disputes)
๙.๒ ต้องปฏิบัติตามความของ สนธิสัญญาโดยเคร่งครัด กรณีพิพาท ในระหว่าง รัฐ กับ เอกชน ในกรณีนี้ถือว่า ตกอยู่ในบังคับของ คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่องค์การสหประชาชาติ หรือ นานาชาติตามสนธิสัญญาฉบับนี้ จะตั้งขึ้น
๙.๓ ศาลอนุญาโตตุลาการประจำ ที่ กรุงเฮก ที่มีตัวตนอยู่แล้ว เพราะได้เลือกบรรดาอนุญาโตตุลาการผ่านสมัชชาใหญ่ (General Assembly) อาจถูกเลือกโดยองค์การสหประชาชาติ และนานาชาติ ให้มาทำหน้าที่ตรงนี้
๑๐. การที่จำเลย แพ้คดี ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ต้องถูกปรับไหม เป็นเงิน มีมูลค่ามหาศาล คำวินิจฉัย จะออกมาให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์ (ไม่ว่า ยูโร หรือ สหรัฐฯ) เวลาที่จ่ายจริง ต้องจ่ายเป็น "เหรียญทองคำ" โดยคิดจากเงินบาท ที่ไปประกาศ เป็นทางการ ที่ให้มีมูลค่าเท่ากับ ทองจำนวนเท่าใด?ออนซ์ แล้วเทียค่าออกมาเป็น ดอลลาร์ ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
๑๑. วิธีการเช่นนี้ มีปรากฏอยู่ ในโลกนี้แล้ว เป็นคดีตัวอย่าง คือ "Alabama Claim ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นโจทก์ ฟ้อง ประเทศอังกฤษ ภายหลังจากที่สงครามกลางเมือง เสร็จสิ้นลง บนแผ่นดินสหรัฐฯ วุฒิสมาชิก Sumner ของรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นหัวหอกในการนำฟ้องคดีนี้"
๑๔. ในเรื่องประเทศไทยนั้น ยังจะ มีปัญหาต่อไปหลังจาก เรื่องนี้ คือ การบังคับใช้ (สนธิสัญญา) Convention against Transnational Organized Crime, 2000 มีผลบังคับประเทศไทยในวันที่ให้สัตยาบัน คือ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ. ๒๐๑๓ หรือ ปีพ.ศ.๒๕๕๖ ทั้งนี้เพราะการประกาศใช้ Single Gate Way ต้องผ่าน เป็นกฏหมายออกมา โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เถื่อน)
ตรงนี้คนไทยทั้งประเทศ จะได้เห็น ระบบเถื่อน สู้กับ ระบบที่ถูกต้องตามกฏหมาย และ ระบบเถื่อน จะถูกลบล้าง ให้มลายไปสิ้น ด้วยระบบครรลอง ที่ชอบด้วยกฏหมาย...........(มีต่อ)
No comments:
Post a Comment