การฟ้องคดีในสไตล์ อเมริกา มีลักษณะเช่นใด?
๑. การฟ้องคดีในสไตล์อเมริกา จะถือว่า เป็นความลับสุดยอดในระหว่าง โจทก์ ผู้ฟ้องคดี กับ ศาลผู้รับคำฟ้อง (การฟ้องคดีแพ่ง) ในเรื่องฐานความผิด ที่ผู้เป็นโจทก์ นำมากล่าวอ้าง เพื่อฟ้องคดี
๒. เมื่อผู้เป็นโจทก์ ฟ้องคดี (ทางแพ่ง) เข้ามา เมื่อศาล (ผู้พิพากษา)ได้ตรวจดูคำฟ้องที่รับมาจาก เจ้าหน้าที่ศาล ผู้รับฟ้องแล้ว (Registration Officer) เมื่อเห็นว่า คำฟ้อง ได้อ้างอิง หลักการ ในฐานความผิด ที่ได้ฟ้องอย่างถูกต้อง สมบูรณ์แล้ว และ มีข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักแหล่งอ้างอิง ในการฟ้องคดีของโจทก์ ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามข้อหาที่ฟ้อง
๓. ผู้พิพากษา หรือ ศาล ก็จะรับฟ้องนั้นไว้เพื่อพิจารณาต่อไป โดยศาลจะนำคำฟ้องนั้น ใส่ลงในซอง แล้วปิดผนึก พร้อมกับบันทึกเลขรับคดี (Docket Number) ลงบนหน้าซองที่ใส่คำฟ้องนั้น ที่ปิดผนึกแล้ว ส่งให้กับเจ้าหน้าที่ศาลผู้รับฟ้องเพื่อ (Registration Officer) ให้นำไปบันทึกเลขฟ้องคดี ทั้งนี้เพื่อจะเตรียมจัดส่งหมายแก้คดี แก่จำเลย และเอกสารอื่นที่จำเป็นสำหรับ U.S. Marshal หรือตัวแทน เพื่อส่งสำเนาคำฟ้อง และหมายแก้คดีแก่จำเลย ต่อไป
๔. เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลผู้รับฟ้อง (Registration Officer) ได้ไปดำเนินการตามข้อที่ ๓ แล้ว ก็จะนำซองใส่คำฟ้อง ที่ปิดผนึก นำส่งคืนแก่ผู้พิพากษา หรือศาล เพื่อนำไปใส่ซองพลาสติค ที่มีซิป (Zip) แล้วใส่ซองนั้นลงในซองพลาสติค แล้วรูดปิดซิป แล้วจึงนำไปใส่ในไฟล์ที่มี ขอเพื่อเกี่ยวห้อยในตู้นิรภัย หรือ ตู้เซฟของศาล
๕. แล้วก็นำเข้าเก็บในตู้เซฟ หรือ ตู้นิรภัย แล้วผู้พิพากษา หรือศาล ก็จะหมุนระหัสเพื่อปิดตู้เซฟ หรือ ตู้นิรภัยนั้น ในชั้นฟ้องคดี จึงเป็นเรื่อง ที่เป็นความลับในระหว่างโจทก์ผู้ฟ้องคดี กับศาลเท่านั้น ไม่มีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่า คำฟ้องของผู้เป็นโจทก์ ฟ้องจำเลยในข้อหาใด? มีพยานหลักฐานใด? และฟ้องอาศัยหลักแหล่งแห่งหนใดในข้อหา? มีกฏหมายใดสนับสนุน
๖. เมื่อโจทก์ และ/หรือทนายของโจทก์ มาแจ้งแก่ศาลว่า จำเลยที่ฟ้องคดีไว้ ในขณะนี้อยู่ที่ใด? มีภูมิลำเนาตรงตามคำฟ้องหรือไม่? จึงเป็นเรื่องของโจทก์ผู้ฟ้องคดี และทนายจะต้องเป็นผู้แจ้งแก่ศาล เพื่อจะจัดส่งคำฟ้อง และคำแก้คดีแก่ฝ่ายจำเลย โดยผู้เป็นโจทก์ต้องกรอกแบบฟอร์มแจ้งแก่ศาล ผ่าน เจ้าหน้าที่ศาลผู้รับฟ้อง (Registration Officer)
๗. เมื่อศาลได้รับแจ้งจาก เจ้าหน้าที่ศาลผู้รับฟ้อง (Registration Officer) คดี ศาลก็จะเรียก U.S. Marshal หรือผู้แทน มาพบเพื่อนำสำเนาคำฟ้อง และหมายแก้คดี ไปส่งแก่จำเลยยังถิ่นฐาน ที่มีตัวจำเลยอยู่ในเขตอำนาจของศาล พร้อมกับโจทก์ผู้ฟ้องคดี
๘. เมื่อ U.S. Marshal หรือ ผู้แทน ไปกับโจทก์ เพื่อส่งสำเนาคำฟ้อง และหมายแก้คดีแก่จำเลยแล้ว ก็จะกลับมากรอกแบบฟอร์ม เพื่อแจ้งแก่ศาลถึง ผลการส่งสำเนาคำฟ้อง และ หมายแก้คดี แก่จำเลย ที่ได้จัดส่งไปให้แก่จำเลย จนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
๙. เมื่อได้จัดส่งสำเนาคำฟ้อง และ หมายแก้คดีแก่จำเลยแล้ว ตรงนี้เอง ที่คำฟ้องคดีของโจทก์ ผู้ฟ้องคดี จะไม่เป็นความลับ อีกต่อไป เพราะจำเลยได้รับทราบคำฟ้อง และข้อหา และข้อเท็จจริงในคำฟ้องทั้งหมดแล้ว จำเลย จึงมีหน้าที่ต้องมาแก้ต่างในคดี โดยปกติ จำเลย ต้องแต่งตั้งทนายเข้ามา เพื่อต่อสู้คดีภายใน ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมงนับแต่รับคำฟ้อง
๑๐. ส่วนคู่ความทั้งสองฝ่าย จะมากำหนดวัน เพื่อทำการสืบพยาน ในระบบไต่สวน กับศาล หรือ ผู้พิพากษาเจ้าของคดี โดยคู่ความทั้งสองฝ่าย มีเวลาเตรียมคดี และพยานหลักฐานในคดี อย่างช้าภายในกำหนดเวลา ๓๐ วัน ในชั้นแรก และต้องให้โอกาศคู่ความฝ่ายตรงกันข้าม มีโอกาศได้ตรวจดูพยานหลักฐานในคดี และยื่นคำคัดค้านพยานหลักฐานได้ในเวลา อันพอสมควร
No comments:
Post a Comment