สงกรานต์ กระจ่างเนตร อาจจะเป็นที่รู้จักในนามของสามีอดีตดาราดัง คัทลียา กระจ่างเนตร แต่นักธุรกิจหนุ่มคนนี้มีแนวคิดทางการเมืองชัดเจน และแสดงออกผ่านการเขียนบทความอยู่เนืองๆ ล่าสุดคุณสงกรานต์ได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ แนะนำพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวาระที่นายกฯและคณะจะเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก
คุณสงกรานต์เริ่มต้นด้วยการอวยพรให้นายกฯและคณะโชคดี ก่อนที่จะบอกว่านายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ต้องเตรียมพร้อมพลเอกประยุทธ์อย่างรัดกุม ว่าควรจะต้องปรับทัศนคติของตัวเองให้มีเหตุมีผลมากขึ้น ในการพูดจาในประเทศเสรีประชาธิปไตย ที่นักข่าวถูกฝึกมาเหมือนกับสุนัขตำรวจให้พร้อมจะกัดไม่ปล่อย หากเจอวาทะปกปิดหลอกลวง หรือไม่มีเหตุมีผลเพียงพอ
คุณสงกรานต์ยังให้คำแนะนำแก่พลเอกประยุทธ์ถึง 3 ข้อ ในการเอาตัวรอดจากการปรากฏตัวในเวทียูเอ็นครั้งนี้ นั่นก็คือ
1. ไม่ควรปฏิเสธว่าไทยไม่ได้ปกครองด้วยเผด็จการทหารอย่างที่รัฐมนตรีดอนทำในการสัมภาษณ์หลายครั้งที่ผ่านมา เพราะการจับกุมนักศึกษาที่เดินขบวนอย่างสงบ และการคุมขังนักข่าวที่แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ บ่งบอกว่าไทยไม่ได้แค่ไม่มีประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังปราศจากหลักนิติรัฐด้วย
2. การที่นายกฯระเบิดอารมณ์หรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสมใส่สื่อต่างประเทศ จะไม่ถูกมองเป็นเรื่องตลกขำขันเหมือนที่ทำกับสื่อไทยแน่นอน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีที่รัฐมนตรีต่างประเทศคนก่อน พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ไปเล่นมุขสารภาพรักกับรัฐมนตรีต่างประเทศจีน จนเป็นเรื่องฮือฮากันทั้งโลก คุณสงกรานต์แนะนำว่าถ้านายกฯหรือรัฐมนตรีดอนจะสารภาพรักก็ขอให้บอกรักประเทศชาติและในหลวงจะดีกว่า
3. เมื่อนายกฯได้มีโอกาสไปนิวยอร์กแล้ว ก็ควรไปเยือนสถานที่ที่คุณสงกรานต์เคยมีโอกาสไปศึกษา นั่นก็คือมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เพื่อซึมซับบรรยากาศในที่ที่ไม่มีการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ และส่งเสริมความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อการแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ และลองเรียกหนึ่งในศาสตราจารย์ของโคลัมเบียมา "ปรับทัศนคติ" ดู จะได้รู้ว่าพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
คุณสงกรานต์ปิดท้ายว่าตนเองรักชาติ และเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์ก็รักชาติเช่นเดียวกัน แม้จะมีความเห็นสวนทางกันว่าประเทศควรเดินหน้าไปในทิศทางใด โดยคุณสงกรานต์มองว่าประเทศจะต้องเดินหน้าไปภายใต้การรับฟังความเห็นของประชาชน ไม่ใช่ปราบปรามกดขี่ และต้องปฏิรูปทัศนคติแบบไทยๆ สร้างสังคมที่เปิดกว้าง ให้โอกาสคนเก่งขึ้นมาสู่ระดับบนของสังคมได้ด้วยศักยภาพของตนเอง ไม่ใช่เส้นสาย มิฉะนั้นสิ่งที่จะขึ้นมาอยู่ในระดับบนของประเทศ จะไม่ช่หัวกะทิ แต่เป็นอย่างอื่นแทน
คุณสงกรานต์เริ่มต้นด้วยการอวยพรให้นายกฯและคณะโชคดี ก่อนที่จะบอกว่านายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ต้องเตรียมพร้อมพลเอกประยุทธ์อย่างรัดกุม ว่าควรจะต้องปรับทัศนคติของตัวเองให้มีเหตุมีผลมากขึ้น ในการพูดจาในประเทศเสรีประชาธิปไตย ที่นักข่าวถูกฝึกมาเหมือนกับสุนัขตำรวจให้พร้อมจะกัดไม่ปล่อย หากเจอวาทะปกปิดหลอกลวง หรือไม่มีเหตุมีผลเพียงพอ
คุณสงกรานต์ยังให้คำแนะนำแก่พลเอกประยุทธ์ถึง 3 ข้อ ในการเอาตัวรอดจากการปรากฏตัวในเวทียูเอ็นครั้งนี้ นั่นก็คือ
1. ไม่ควรปฏิเสธว่าไทยไม่ได้ปกครองด้วยเผด็จการทหารอย่างที่รัฐมนตรีดอนทำในการสัมภาษณ์หลายครั้งที่ผ่านมา เพราะการจับกุมนักศึกษาที่เดินขบวนอย่างสงบ และการคุมขังนักข่าวที่แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ บ่งบอกว่าไทยไม่ได้แค่ไม่มีประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังปราศจากหลักนิติรัฐด้วย
2. การที่นายกฯระเบิดอารมณ์หรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสมใส่สื่อต่างประเทศ จะไม่ถูกมองเป็นเรื่องตลกขำขันเหมือนที่ทำกับสื่อไทยแน่นอน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีที่รัฐมนตรีต่างประเทศคนก่อน พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ไปเล่นมุขสารภาพรักกับรัฐมนตรีต่างประเทศจีน จนเป็นเรื่องฮือฮากันทั้งโลก คุณสงกรานต์แนะนำว่าถ้านายกฯหรือรัฐมนตรีดอนจะสารภาพรักก็ขอให้บอกรักประเทศชาติและในหลวงจะดีกว่า
3. เมื่อนายกฯได้มีโอกาสไปนิวยอร์กแล้ว ก็ควรไปเยือนสถานที่ที่คุณสงกรานต์เคยมีโอกาสไปศึกษา นั่นก็คือมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เพื่อซึมซับบรรยากาศในที่ที่ไม่มีการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ และส่งเสริมความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อการแลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ และลองเรียกหนึ่งในศาสตราจารย์ของโคลัมเบียมา "ปรับทัศนคติ" ดู จะได้รู้ว่าพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
คุณสงกรานต์ปิดท้ายว่าตนเองรักชาติ และเชื่อว่าพลเอกประยุทธ์ก็รักชาติเช่นเดียวกัน แม้จะมีความเห็นสวนทางกันว่าประเทศควรเดินหน้าไปในทิศทางใด โดยคุณสงกรานต์มองว่าประเทศจะต้องเดินหน้าไปภายใต้การรับฟังความเห็นของประชาชน ไม่ใช่ปราบปรามกดขี่ และต้องปฏิรูปทัศนคติแบบไทยๆ สร้างสังคมที่เปิดกว้าง ให้โอกาสคนเก่งขึ้นมาสู่ระดับบนของสังคมได้ด้วยศักยภาพของตนเอง ไม่ใช่เส้นสาย มิฉะนั้นสิ่งที่จะขึ้นมาอยู่ในระดับบนของประเทศ จะไม่ช่หัวกะทิ แต่เป็นอย่างอื่นแทน
No comments:
Post a Comment