Friday, October 2, 2015

เอาผิดกับผู้ก่อรัฐประหาร ก้าวสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในบูร์กินาฟาโซ

เอาผิดกับผู้ก่อรัฐประหาร ก้าวสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในบูร์กินาฟาโซ

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 23:05:00 น.

Credit: Please visit http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443800572


AFP PHOTO / AHMED OUOBA


โดย อดิเทพ พันธ์ทอง



"การก่อรัฐประหารเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด" นาย พลกิลแบต์ เดียนเดร์ ผู้นำกองกำลังกบฏที่จับตัวสองผู้นำสูงสุดของรัฐบาลเฉพาะกาลของบูร์กินาฟาโซ เป็นตัวประกันกล่าวยอมรับ หลังยอมคืนอำนาจให้กับรัฐบาลพลเรือน ทั้งๆ ที่เพิ่งประกาศยึดอำนาจได้เพียงสัปดาห์เดียว และเตรียมถูกดำเนินคดีหลังการก่อรัฐประหารที่ล้มเหลว

การ เปลี่ยนแปลงจากจุดสูงสุดสู่จุดต่ำสุดของนายพลเดียนเดร์เกิดขึ้นในระยะเวลา ที่สั้นมาก จุดสำคัญคือเขาไม่ได้มีมวลมหาประชาชนชาวบูร์กินาฟาโซที่เชื่อว่านายทหารคือ ชนชั้นพิเศษที่โกงกินไม่เป็นคอยหนุนหลัง และเขาไม่ได้เป็นผู้ที่ควบคุมกองทัพทั้งหมดของบูร์กินาฟาโซอย่างเป็นเอกภาพ ทำให้การยึดอำนาจของเขาด้วยการอาศัยกองกำลังพิทักษ์ประธานาธิบดี (Presidential Security Regiment, RSP) ถูกท้าทายจากทางกองทัพ นอกจากนี้หลายประเทศในภูมิภาคยังรวมตัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันร่วมกดดันให้ เขาต้องลงจากตำแหน่ง

พัฒนาการ ที่น่าติดตามหลังการยอมถอยของผู้นำกบฏคือ การที่รัฐบาลพลเรือนสั่งอายัดทรัพย์สินของนายพลเดียนเดร์และพวก พร้อมระบุต้องนำตัวผู้ก่อการขึ้นพิจารณาโทษตามกระบวนการยุติธรรม แม้ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาจากวงเจรจาเพื่อยุติเหตุวุ่นวายทางการเมืองครั้ง นี้เสนอให้นิรโทษกรรมผู้พยายามก่อรัฐประหารก็ตาม ซึ่งหากทำได้จริงจะแสดงให้เห็นว่ากฎหมายป้องกันการใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลง การปกครองในบูร์กินาฟาโซมีสถานะเป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้จริงๆ ไม่เหมือนบางประเทศ ที่นักกฎหมายช่วยกันตีความเข้าข้างการใช้กำลังยึดอำนาจประชาชนว่าเป็นสิ่ง ที่ชอบธรรม การออกกฎหมายยกเว้นความผิดให้กับตัวเองมีความสมบูรณ์ โดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบของประชาชน

หลัง จากนี้ ผู้นำทหารในบูร์กินาฟาโซคงต้องคิดหนักขึ้น หากหวังจะใช้อำนาจเถื่อนเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลพลเรือน เพราะหากตัวเองสิ้นอำนาจอาจต้องเผชิญกับการดำเนินคดีเหมือนอย่างนายพลเดีย นเดร์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับชาวบูร์กินาฟาโซ ที่มีหลักประกันว่าผู้ที่ไม่เคารพกติกาจะต้องได้รับการลงโทษ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยไม่อาจถูกล้มล้างได้ง่ายๆ โดยอาศัยการตัดสินใจของคนไม่กี่คน 

ใน ทางกลับกัน ประเทศในอีกซีกโลกหนึ่งกลับยึดถือการรัฐประหารว่าเป็นส่วนหนึ่งของจารีต ประเพณีการปกครองที่ไปด้วยกันได้กับระบอบประชาธิปไตย และพยายามสร้างคำจำกัดความของคำว่า "ประชาธิปไตย" ขึ้นมาใหม่ในแบบฉบับของตนเอง (ไม่ต่างกับการหลอกชาวบ้านของคนใช้รถในประเทศนี้ ที่นิยมติดสติ๊กเกอร์บอกว่า "รถคนนี้สีขาว" ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ท่นโท่ว่าเป็นรถสีดำ) 

อีก ความพยายามหนึ่งที่น่าสนใจของคนที่รังเกียจประชาธิปไตยในประเทศนี้ คือการพยายามบอกว่า "ประชาธิปไตย" เป็นแค่รูปแบบการปกครองรูปแบบหนึ่ง มิได้มีคุณค่าความดีงามใดๆ สูงส่งไปกว่าระบอบอื่นๆ รวมไปถึงระบอบเผด็จการ บางรายอ้างระบบคุณธรรมขึ้นมานำหน้าระบอบการปกครอง พร้อมชี้ว่า การปกครองที่ดีอยู่ที่ "ความดีของผู้ใช้อำนาจปกครอง" โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการปกครองของบุคคลดังกล่าวจะใช้ระบอบการปกครองใน รูปแบบใด 

คน ที่จะพูดอย่างนี้ได้ต้องเป็นคนที่ไม่สนใจใยดีว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับตนเองจะ ถูกปฏิบัติอย่างไร มองว่าเสรีภาพเป็นเรื่องไร้สาระ และไม่คิดว่าคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ขอแค่ให้ผู้ปกครองเป็น "คนดี" ก็พอ ด้วยคุณสมบัติข้อเดียวนี้ คนดี (ซึ่งไม่รู้ว่ามีคำจำกัดความที่แน่ชัดอย่างไร) จึงมีสิทธิพิเศษเหนือผู้อื่น มีความชอบธรรมที่จะขึ้นปกครองคนทั้งมวลได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าคนส่วนใหญ่จะให้การยอมรับหรือไม่ และสามารถออกคำสั่งริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้ตามใจชอบ หากบุคคลดังกล่าวยังถูกเชิดชูว่าเป็นคนดี โดยกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลและสถานะทางสังคมที่ได้เปรียบคนส่วนใหญ่ของประเทศ

ดัง นั้น ตราบใดที่ประเทศดังกล่าวยังคงเห็นค่าของคนไม่เท่ากัน ยังยอมรับระบบคุณธรรมจอมปลอมที่ตรวจสอบไม่ได้ และคิดว่าการกักขังคนที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองเป็นเรื่องปกติ โอกาสที่จะได้เห็นระบอบประชาธิปไตยลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงในประเทศแบบนี้คง เป็นไปได้ยาก แม้มีโอกาสได้ผุดได้เกิดอีกครั้งก็อาจถูกพวกที่อ้างระบบคุณธรรมโค่นล้มได้ ง่ายๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเหมือนอย่างบูร์กินาฟาโซ

No comments:

Post a Comment