ปัญหาของการใช้อำนาจตุลาการ เข้าไปชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทต่างๆในสังคม
๑. ประทศไทย นับแต่ประกาศ และ บังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๐ เป็นต้นมา นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ ของ "การถอยหลังเข้าคลองครั้ง มโหรฬาร" โดยอาศัยการนำของใหม่ คือ "โครงร่างรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution)" ก็อปปี้มาใช้โดยตรงโดยไม่ดัดแปลง หรือ ประยุกต์นำมาใช้ ให้เข้ายุคสมัยของประเทศไทย เป็นการถอยหลังครั้งใหญ่ของ "ประชาธิปไตยไทย" กลับไปในวันเวลากว่า ๒๐๐๐ ปีที่ผ่านมาของโลก
๒. ทั้งนี้โดยอาศัย การโหมโฆษณาของใหม่ ที่ไม่เคยเกิดมีขึ้น ในประวัติศาสตร์การเมือง และ การปกครองของไทย {สร้างศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ให้เกิดเป็นสถาบันของชาติ (National Institutions)} โดยไม่มีการประกาศโดยแจ้งชัดในเหตุผล ที่ต้องนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ และ เมื่อนำมาใช้แล้ว ก็ย่อมเกิดปัญหาแก่ประชาชน และสังคมไทย แต่บรรดาผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่เคยแสดงออก ซึ่งความรับผิดชอบต่อ ประชาชน และสังคมไทยแต่อย่างใด
๓. รวมทั้ง ไม่เคยเสนอทางออกจาก กับดักทางรัฐธรรมนูญ ที่สร้างขึ้น โดยอาศัยปากของคนชั้นนำในสังคมไทย เป็นคนออกมาเป็นแนวหน้า ป่าวร้องให้ชาวบ้าน ผู้อ่อนด้อยทางการศึกษา เพราะ มีความรู้ไม่พอเพียง ให้เห็นด้วยกับ การร่างรัฐธรรมนูญ ในรูปลักษณ์เช่นนี้ ออกมาบังคับใช้
๔. การออกมาเขียน ให้ได้รับรู้กันโดยทั่วไปเช่นนี้ มิใช่เป็น สร้างข้อกล่าวหาในทางร้ายให้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ แต่อย่างใด ทั้งนี้ผม ได้นำเสนอเค้าโครงของ ร่างรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution) ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ได้ทำการศึกษาโดยเปรียบเทียบ กับ เค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญไทยฉบับดังกล่าวแล้ว ปรากฏ เป็นเค้าโครงร่างของ รัฐรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution) อยู่ในชุมชนแห่งเสรีภาพ (the Land of Liberty ที่ท่านผู้อ่านทุกๆท่าน อาจไปดาวน์โหลดรูปภาพ ที่ว่านั้น มาศึกษาโดยเปรียบเทียบได้ โดยเสรี
๕. โดยที่ผม จะนำคำอรรถาอธิบายในส่วนต่างๆของ เค้าโครงของ ร่างรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution) ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็น ผู้ร่างนำขึ้นใช้ โดยไม่ให้คำอรรถาอธิบายใดๆ มาอธิบาย และ ชี้ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ได้รับทราบ เป็นตอนๆในชุมชนแห่งเสรีภาพ (the Land of Liberty ต่อไป
๖. การนำเอาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาประกาศ และ บังคับใช้เป็นกฏหมายที่สำคัญ (ตราสารที่สำคัญ) ของชาติเช่นนี้ ย่อมไม่ต่างไปจากที่นายพลตีโต้ แห่งยูโกสลาเวีย ไปแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งชาติของประเทศยูโกสลาเวีย ในปีค.ศ. 1963 และ
๗. มาแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งชาติของ ประเทศยูโกสลาเวีย ในหนสุดท้ายในปีค.ศ. 1974 จนนำไปสู่ การล่มสลายของประเทศยูโกสลาเวีย ประเทศถูกแบ่งแยก เป็นประเทศเกิดใหม่ เพิ่มขึ้นอีก ๔ – ๕ ประเทศ (สโลวาเนีย, บอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า, รัฐเซริบส์ใหม่, โคโซโว่ รวมทั้ง มอนเตเนโกร และมาเซโดเนีย)
๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ นอกจากจะสร้างปัญหาให้กับ พี่น้องประชาชนคนไทย ทั้งประเทศ ผู้อ่อนด้อยทางปัญญา และ ความรู้ในเชิงวิชาการดังที่กล่าวมาแล้ว
๙. ยังเป็นการสร้างปัญหาแก่ การใช้อำนาจในทาง ที่อำนวยความยุติธรรม และใช้อำนาจในทางฝ่ายตุลาการ (the exercising of Judiciary) อย่างเกินกว่า ขอบอำนาจ (the Usurpation of Powers) ที่ควรมี ควรจะเป็น อีกทั้งยังเป็น การฝ่าฝืนต่อครรลอง อันชอบธรรมของ กฏเกณฑ์ของโลก (World Summit Outcome, 2005) และ
๑๐. ยังมีการใช้อำนาจ จากมาตรการ ที่วางไว้ตามรัฐธรรมนูญ "แบบ ตาบอด คลำช้าง" กลายเป็น การหยิบยื่น มาตรการทางอำนวยความยุติธรรม ในรูปแบบ ๒ มาตรฐาน โดย ผู้ที่ใช้อำนาจอำนวยความยุติธรรม ทั้งระบบ ไม่อาจรับรู้ หรือ มีความรู้สึกว่า การใช้อำนาจ เช่นว่านั้น ฝ่าฝืนต่อครรลองความชอบธรรมของโลก...................... (มีต่อ)
No comments:
Post a Comment