Sunday, August 16, 2015

คำว่า " ประชาธิปไตย แบบไทยๆ" คืออะไร?


คำๆนี้ ผมขอให้คำตอบแก่พ่อแม่ พี่น้องประชาชนคนไทยดังนี้:


๑. ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่เคยมีอยู่ในสาระบบของสากล และแม้แต่ในสารบบของโลก

๒. "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" คือวาทกรรมของนักการเมืองไทย มาหลายยุค หลายสมัย แต่หาแก่นสารไม่ได้เลย


๓. เป็นการใช้ "วาทกรรม เพื่อขายผ้าเอาหน้ารอดไป เป็นครั้ง และ เป็นคราว เท่านั้น

๔. " คำว่า "ประชาธิปไตย" หรือ "Democracy" ในภาษาอังกฤษ ไม่เคยเกิดมีขึ้นในประเทศนี้ราว ๘๐ - ๙๐ ปี ก่อนปีพ.ศ.๒๔๗๕

๕. คำว่า "ประชาธิปไตย" ไม่ใช่ต้นข้าว หรือ เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ใช้หว่านในท้องนา หรือ "เชื้อเห็ด" ที่เพาะขึ้น เพราะอาศัย "ฟางข้าว" เป็นที่เกาะเกี่ยว


๖. แต่ประชาธิปไตย เป็นเรื่องของ ความคิด ความสำนึกของ มนุษย์ผู้เจริญแล้ว ในสังคมไทย


๗. จะเกิดความเป็นประชาธิปไตยได้ ก็ต่อเมื่อ เรายกระดับ ของความคิด และ จิตใจของตัวเรา ให้ขึ้นไปถึง ระดับของ ความเป็นประชาธิปไตยในแบบสากล


๘. คำว่า "ประชาธิปไตย" ไม่ใช่ของไทย แต่เป็นเรื่องที่ "คณะราษฏร์" เป็นผู้นำเข้า จากการปฏิวัติยึดอำนาจในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ปีพ.ศ.๒๔๗๕ จนเป็นผลสำเร็จ


๙. ตรงนี้จึงยืนยันได้ว่า คำว่า " ประชาธิปไตย แบบไทยๆ" ไม่มีอยู่ในระบบของสากล นอกจากเป็น "วาทกรรมของนักการเมืองไทย" มาในหลายยุค และหลายสมัย เท่านั้น

๑๐. คำว่า"สำนึกของความเป็นประชาธิปไตย".พึ่งจะเกิดมีขึ้นในยุคสมัยนี้ แต่ยังอยู่ในระดับปริมาณเพียง 40% - 60% ของจำนวนประชาชนทั้งประเทศเท่านั้น

๑๑. เมื่อ"สำนึกของความเป็นประชาธิปไตย" ยังไม่อยู่ในลักษณะที่ จะชี้ชาดได้ในสังคมไทย เพราะในระดับของจำนวนประชากร ที่จะใช้ชี้ขาด เป็นปริมาณ ที่อยู่ในจำนวน ที่แตกต่างกัน ในระดับ 10% - 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งยังก้ำกึ่งกัน อย่างนี้

๑๒. จำนวนประชากร 10% - 20% ที่จะใช้เป็นเครื่องตัดสินชี้ขาด ยังแกว่ง และ พร้อมที่จะ swing ไปได้ทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่าย ที่เป็นประชาธิปไตย และ ฝ่าย ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

๑๓. การต่อสู้ช่วงชิงมวลชน จึงมีความเข้มข้นสูงในสังคมไทย และ ในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงมวลชน รวมทั้งยังเป็นกรณี ที่พร้อม ที่จะแปรเปลี่ยน จากวิถีสันติ ไปสู่ วิถีแห่งความรุนแรง จนกลายไปเป็น "สงครามกลางเมือง หรือ Civil War" ได้ง่ายๆ


๑๔. คนไทยทั้งหลาย จึงต้องพึงสังวรณ์ ถ้าท่าน รักความเปลี่ยนแปลงให้เกิดมีขึ้น โดยใช้กรรมวิธีในวิถีทางแห่งสันติธรรม.

No comments:

Post a Comment