VIDEO สำหรับพวกที่ร่วมกันล้มเจ้า แล้วถูกคณะเจ้าไทยรุกกลับนั้น จะไม่ยกมานะครับ
แต่ส่วนที่เกิดขึ้นหลังการล้มคณะราษฏรได้แล้วนั้น เราจะเห็นว่า
นายทหารผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ และแย่งอำนาจกัน
แต่คนที่อยู่นานต้องเป็นคนที่เจ้าเอาด้วย หากใหญ่เกิน ก็จะถูกกำจัด
จุดจบเป็นอย่างไรกันบ้าง มีผู้สรุปจากหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ครับ
อ้างอิงจากหนังสือ "บันทึกเชิงประวัติศาสตร์ ๔๓ ปี เมื่อมวลชนเป็นใหญ่ ในสยาม" โดย ขจร สุขพานิช, เสฐียร พันธะรังษี, สำเนียง ขันธะชวนะ, สละ ลิขิตกุล, เพชร บ้านแหลม, สงัด บรรจงศิลป์, พหล หงสกุล, ประสิทธิ์ ณ พัทลุง, เสลา เรขะรุจิ, มานิต สังวาลเพ็ชร, ประยุทธ สิทธิพันธ์ และไทยน้อย)
---------------------
จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๑ เป็นเผด็จการอีกคนหนึ่งของเมืองไทย ร่วมกับจอมพลผิน ชุณหะวันทำการรัฐประหารจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ (หลังจากเคยช่วยจอมพล ป. ปฏิวัติล้มรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) และเป็นผู้ใช้อำนาจมาตรา ๑๗ ของธรรมนูญการปกครองสั่งยิงเป้าและคุมขังผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาทรัพย์สินเงินทองเข้าตัวมหาศาล จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบด้วยโรคหัวใจวายในเมืองไทยก็จริง แต่ทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลที่เขาฉ้อราษฎร์บังหลวงมามูลค่าถึงกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ก็ถูกยึดทรัพย์โดยมาตรา ๑๗ ของธรรมนูญการปกครองของเขานั่นเอง จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๐ ร่วมกับจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารจอมพล ป. สำเร็จ และเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ หลังจากจอมสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ จอมพลถนอมได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกครั้ง ต่อมาเมื่อมีการขัดแย้งกันในพรรคของเขา จอมพลถนอมได้ทำการรัฐประหารตัวเองเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๔ และประกาศใช้เวลา ๑๐ ปีในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีบรรดานิสิตนักศึกษานำโดยนายธีรยุทธ บุญมี เรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จอมพลถนอมได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและลี้ภัยไปประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่พักหนึ่ง ก่อนบวชเป็นเณรกลับเข้ามาในเมืองไทยจนเกิดเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมโดยสงบด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต (ถ้าจำไม่ผิด) ที่เมืองไทย แต่ท่านก็ถูกรัฐบาลต่อมา (นายสัญญา ธรรมศักดิ์) ประกาศยึดทรัพย์เช่นเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ (ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกัน) พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ทำรัฐประหารโดยเรียกว่า "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และต่อมาได้มอบให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี และในที่สุดท่านได้ปฏิวัติตัวเอง ไล่รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรพ้นจากตำแหน่ง และมอบให้ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีสืบแทน ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบที่เมืองไทยเช่นกัน พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้ทำรัฐประหารรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ เรียกว่า "คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ" หลังจากมอบให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ประมาณปีเศษ พลเอกสุจินดา คราประยูรก็ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนเกิดเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" พลเอกสุนทร ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งที่เมืองไทยเช่นกัน สรุปได้ว่า การถึงแก่กรรมของแต่ละท่านจะเป็นเพราะเหตุใดก็สุดแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล ผมไม่บังอาจสรุปใด ๆ ได้ จะเห็นได้ว่าหลายท่านที่กล่าวถึงได้ถึงแก่กรรมโดยสงบในเมืองไทยบ้าง ต่างประเทศบ้าง บางท่านก็ถูกยึดทรัพย์ บางท่านก็ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนาของเราก็ถือว่าเป็นวิบากกรรมของแต่ละคนที่ทำมาทั้งในชาตินี้และชาติก่อน ถ้าเราเชื่อใน "กรรม" ก็จงมุ่งมั่นกระทำแต่ความดี สร้างบุญกุศล ไม่ทำบาป ทำผิด ทุจริต ฉ้อโกง ไม่เบียดเบียน ไม่โลภ บำเพ็ญคุณงามความดี ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณธรรม ชีวิตของเราก็จะประสบแต่ความสุขความเจริญ ไม่มีทางพบกับความเสื่อมได้เลยแก้ไขเมื่อ 16 ต.ค. 49 15:51:30 แก้ไขเมื่อ 16 ต.ค. 49 01:18:37 จากคุณ : วศินสุข - [ 16 ต.ค. 49 01:02:38 ]
ใช้อำนาจมาตรา 44 เยี่ยงสฤษดิ์/ถนอม แล้วประยุทธ์จะเอาจุดจบแบบสฤษดิ์ หรือถนอม
No comments:
Post a Comment