Sunday, December 27, 2020

อ สุรชาติ บำรุงสุข,โควิดกับการเมืองปี 64

บทสัมภาษณ์มติชนทีวี
อ สุรชาติ บำรุงสุข
โควิดกับการเมืองปี 64

https://youtu.be/GIbBRWFOEtk

Saturday, December 26, 2020

มีหนาว! กมธ.ปปช.,ขุดคดีฉ้อโกงยื่นส่งศาล,ถอด "สิระ เจนจาคะ",ออกจาก ส.ส.

มีหนาว! กมธ.ปปช. ขุดคดีฉ้อโกงยื่นส่งศาล ถอด "สิระ เจนจาคะ" ออกจาก ส.ส.

งานนี้มีหนาวแน่! "เสรีพิศุทธ์" ในฐานะประธาน กมธ.ปปช. ขุดคดีฉ้อโกง และอีก
3 คดี ยื่นประธานชวน ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ถอด "สิระ เจนจาคะ" ออกจาก ส.ส.

เมื่อเวลา 13.45 น. วันที่ 23 ธ.ค. ที่รัฐสภา พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย
ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤตมิชอบ(ปปช.)
สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย

ร่วมกันแถลงเพื่อยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภาไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อถอดถอนนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จากการเป็น
ส.ส. โดย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า มีผู้ร้องเรียนและให้ข้อมูลระบุว่า
นายสิระ ต้องโทษในคดีต่างๆ และอยากให้ กมธ.ดำเนินการตรวจสอบ

ซึ่งพวกตนพรรคเสรีรวมไทย ยึดมั่นในเรื่องตัวบุคคลเป็นสำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านด้วยกัน หรือฝ่ายรัฐบาล ถ้าเป็นคนดี
เราก็ยินดีด้วยและพร้อมจะให้การสนับสนุน แต่ถ้าเป็นคนไม่ดี
แม้จะเป็นคนในพรรคเดียวกัน เราก็ไม่เอาด้วย ซึ่งในกรณีนายสิระนี้
เมื่อมีผู้ร้องมา ตนในฐานะประธานกมธ.ปปช. ก็ต้องดำเนินการตรวจสอบ
เพราะเราอยากให้สภาเป็นที่ของประชาชน เอาไว้ทำงานให้ประชาชน

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวต่อว่า ตนได้ตรวจสอบแล้วพบว่า
มีคำพิพากษากรณีนายสิระ ไม่ว่าจะใช้ชื่อ ชลสิทธิ์, สุรสิทธิ์ หรือ สิระ
เจนจาคะ ก็ถือว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน ประกอบด้วย

1. ศาลแขวงพระนครใต้
กรณีออกเช็คโดยมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คซึ่งนายสิระ
ให้การรับสารภาพและคดีนี้มีระยะเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว

2. ศาลแขวงปทุมวัน กรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และการฉ้อโกง ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพทั้ง 2 กรณี

3. ศาลแขวงจังหวัดแพร่ กรณีความผิดต่อร่างกาย จำเลยก็รับสารภาพเช่นกัน

4. ศาลแขวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่องความผิดต่อชีวิต ประมาท ความผิดต่อ
พรบ.ทางบก โดยจำเลยขับรถยนตร์ชนรถจักรยานยนตร์ ซึ่งจำเลยรับสารภาพเช่นกัน
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ มาตรา 98 (7)
ถือว่าคดีมีระยะเวลานานกว่า 20 ปีแล้วจึงถือว่าเป็นอันสิ้นสุด
แต่สำหรับมาตรา 98 (10)ที่ระบุว่าเคยต้องคำพิพากษาคดีเกี่ยวกับทรัพย์นั้น
ศาลแขวงปทุมวัน ได้สั่งจำคุก นายสิระ กรณีเกี่ยวกับทรัพย์

ดังนั้นพรรคเสรีรวมไทยจะยื่นเรื่องนี้ไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร
เพื่อส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่านายสิระ
มีคุณสมบัติต้องห้ามตามรัญธรรมนูญมาตรา 98 (10) หรือไม่
และหากมีลักษณะต้องห้ามจริง เท่ากับนายสิระรู้ว่าตัวเองมีคุณลักษณะต้องห้าม
แต่ยังแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน กกต. ในตอนที่ไปสมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส.
ตนก็จะส่งเรื่องนี้ไปยัง กกต. เพื่อให้
กกต.ร้องไปยังศาลคดีอาญาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป

ซึ่งหากมีความผิด จะมีโทษจำคุก 1-10 ปี และปรับ 2หมื่น-2แสนบาท
นอกจากนี้นายสิระยังต้องชดเชยค่าเสียหายจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ไปจนถึงต้องคืนเงินเดือนและเบี้ยประชุมกมธ.ทั้งหมดที่ได้รับ
ตั้งแต่วันแรกที่เป็นส.ส.จนถึงวันที่พ้นหน้าที่ด้วย เป็นของขวัญปีใหม่คืนให้กับพี่น้องประชาชน

เมื่อถามว่า ไม่กลัวว่าประชาชนจะมองว่าเป็นการเอาคืนกัน
เพราะมีปากเสียงกันใน กมธ.ปปช. อยู่บ่อยครั้งหรือ พล.ต.อ.เสรี กล่าวว่า
ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะเวลานายสิระมีปากเสียง
ตนไม่ได้ไปมีปากเสียงด้วยกับเขา โดยนายสิระเองถือว่าเขาได้รับเอกสิทธิ์
เขาก็แสดงเอกสิทธิ์เต็มที่จนบ้างครั้งมากและเวอร์เกินไป
แต่ก็ไปทำอะไรเขาไม่ได้ ดังนั้น ไม่ต้องห่วง เพราะตนเป็นคนตรงไปตรงมาอยู่แล้ว

หนังสือ (pdf) "ไทยใต้ร่ม สมบูรณาญาสิทธิราชใหม่"

หนังสือ (pdf) "ไทยใต้ร่ม สมบูรณาญาสิทธิราชใหม่"

หนังสือทีกล้าเปิดเผยความจริง ว่าใครสร้าง ใครทำลายระบอบประชาธิปไตย
บรรณาธิการ: ดารณี รวีโชติ
http://www.mediafire.com/view/600beieatku2noo/ไทยใต้ร่ม%20สมบูรณาญาสิทธิราชใหม่.pdf

หนังสือ กงจักรปีศาจ (The Devil's Discus) (pdf),บทวิเคราะห์กรณีสวรรคตของในหลวงอนันท์ฯ

หนังสือ กงจักรปีศาจ (The Devil's Discus) (pdf)
บทวิเคราะห์กรณีสวรรคตของในหลวงอนันท์ฯ
๙ มิถุนายน ๒๔๘๙


Rayne Kruger เขียน, ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช ร.น. แปล


http://www.mediafire.com/view/2uikd628cyb3ebn/กงจักรปีศาจ%20(The%20Devil's%20Discus)%20บทวิเคราะห์กรณีสวรรคตของในหลวงอนันท์ฯ.pdf

หนังสือ รู้ทันราชวงศ์จักรี (โดย รักษ์ธรรม รักษ์ไทย) (pdf)

หนังสือ รู้ทันราชวงศ์จักรี (โดย รักษ์ธรรม รักษ์ไทย) (pdf)
"ความจริงย่อมลอยขึ้นเหนือน้ำเหนือฟ้าเสมอ"
http://www.mediafire.com/view/0lfy0w68k6jd610/รู้ทันราชวงศ์จักรี%20(โดย%20รักษ์ธรรม%20รักษ์ไทย).pdf


Friday, December 25, 2020

ทำไมคอมมิวนิสต์จึงล้มเหลว?

ทำไมคอมมิวนิสต์จึงล้มเหลว?
สามปีหลังจากที่เกิดการปฎิวัติรัสเซีย นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนชื่อว่า ลุควิต วอน มิซิส(Ludwig von mises) โต้แย้งว่าการที่คอมมิวนิสต์นั้นล้มเหลวและอธิบายว่าทำไมจึงล้มเหลว
คอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมไม่สามารถทำได้สำเร็จได้จริงซึ่งสิ่งที่มิซิสได้เขียนในปี 1920 เพราะว่ามันได้ยกเลิกตลาดเสรีออกอย่างเป็นทางการและไม่มีราคาตลาดที่แนะนำผู้คนหรือคาดการณ์สำหรับการวางแผนของการผลิต มิซิสไม่ได้เป็นที่รู้จักจนกระทั่งเมื่อได้ทำสิ่งที่ขัดแย้งนั้นคือสิ่งที่คอมมิวนิสต์และสังคมนิยมทำขึ้นมาแต่สิ่งที่มิซิสได้รับคือ ชื่อเสียงในระดับนานาชาติถัดมาซึ่งนำไปสู่การขึ้นชื่อว่าเป็นกระบอกเสียงของ สำนักออสเตรียน ตลาดเสรีซึ่งเป็นสำนักเศรษฐศาสตร์หนึ่ง ในปี 1973 มิซิสได้เสียชีวิตไปทฤษฏีของเขายังได้รับการตอบรับและมีคนให้ความสนใจมากขึ้นที่ในยุโรปตะวันออก
สหภาพโซเวียตเปิดตัวกับความหวังที่สูงลิ้วแผนที่กำลังจะทำให้สำเร็จโดยมีคณะกรรมการกลาง(Central committee) ซึ่งรับประกันถึงความอุดมสมบูรณ์ในสังคมคอมมิวนิสต์กับทุกคน รัฐที่กำลังจะแห้งเหี่ยวหรือกำลังจะล่มสลายในเวลาต่อมา แต่สิ่งที่ที่สหภาพโซเวียตทำหรือพวกคณะกรรมการกลางทำไม่ได้เป็นผลที่คาดหวังเอาไว้อย่างนั้น เมื่อโซเวียตกลายเป็นหนึ่งในผู้กดขี่ของโลกมีชาวรัสเซียหลายล้านอดอยากและหิวโหยในปี 1920s และ 1930s
ตามประเด็นของมิซิสที่เคยพูดเอาไว้ วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องมือ หรือ เครื่องจักรต่างๆที่ถูกใช้ในการผลิตในรัฐสังคมนิยมนั้นอยู่นอกเหนือจากตลาด นั้นหมายความว่า ในรัฐสังคมนิยมรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมการผลิตและแบบแผนโดยรัฐบาล ไม่มีใครสามารถซื้อหรือขายได้ ไม่มีตลาดที่มีราคาที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ เพราะว่าในรัฐสังคมนิยมนั้นไม่มีการแลกเปลี่ยน
การผลิตในยุคสมัยใหม่ คือการผลิตที่ต้องใช้เวลานานและซับซ้อน ผู้ผลิตจำเป็นต้องพิจารณาทางเลือกหลายทางเมื่อการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรและยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยการผลิตที่หลากหลายอีกเมื่อการตัดสินใจในเรื่องที่ว่าจะผลิตสิ่งนั้นอย่างไร วัตถุดิบ อุปกรณ์และเครื่องจักรต้องทุ่มเทให้ได้มากที่สุดสำหรับงานที่เร่งด่วนที่สุดและไม่เสียไปกับงานที่เร่งด่วนน้อยที่สุด
การพิจารณาเหล่านี้สำหรับตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดที่สุดคือแบบแผนที่ใหม่ของทางรถไฟ หรือก็คือ เราควรสร้างทั้งหมดเลยไหม? ที่ไหนและอย่างไร? การสร้างรถไฟนั้นเร่งด่วนกว่าการสร้างสะพาน การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า พัฒนาพื้นที่ขุดเจาะนำมัน การเพาะปลูกหรือเกาะ? เหล่านี้ไม่มีแผนกลาง แม้ว่าจะเป็นถึงผู้จัดการที่เป็นนักสถิติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญกับการความเป็นไปได้ที่มากเท่าไหร่ เครื่องจักรอาจเป็นสิ่งทดแทนแรงงานในระดับหนึ่ง อย่าง ไม้ อะลูมิเนียม หรือ วัสดุสังเคราะห์ที่เป็นการทดแทนเหล็ก แต่จะตัดสินใจแผนยังไงล่ะ? (สิ่งเหล่านี้มีอะไรที่สามารถทำให้เกิดการวางแผนนี้ได้ ในสังคมแบบไหน?)
การทำการตัดสินใจเหล่านี้ ผู้คิดแผนต้องรู้เกี่ยวกับมูลค่าสัมพัทธ์ในการแลกเปลี่ยนในอัตราส่วนใดๆ หรือ ตลาดราคาที่เป็นปัจจัยนับไม่ถ้วนของการผลิตที่เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อปัจจัยเหล่านี้ที่หากรัฐบาลเป็นเจ้าของ นั้นจะไม่มีการค้าขายและจะไม่มีตลาดราคาเลย เมื่อไร้ตลาดราคา ผู้วางแผนก็จะไม่มีทางรู้หรือมูลค่าสัมพันทธ์ของวัสดุอย่าง เหล็ก อะลูมิเนียม ไม้ หรือ วัสดุสังเคราะห์ที่ไว้สำหรับการทำถนน พื้นที่การเจาะน้ำมัน การทำฟาร์ม รถไฟฟ้า สะพาน หรือ บ้านเลย หากปราศจากตลาดราคาที่กำหนดปัจจัยการผลิตผู้ที่คิดแผนก็จะขาดทุนว่าเราจะประสานงานและช่องทางการผลิตที่ต้องตอบสนองอย่างเร่งด่วนและต้องการให้กับผู้บริโภคในท้ายที่สุด
สำหรับช่วงเวลามากกว่า 70 ปี ที่ผ่านมาเนื่องด้วยการปฎิวัติรัสเซียและ 45 ปีเนื่องด้วยจุดจบของสงครามโลก จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าทำไมคนรัสเซียจึงขาดที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และ สิ่งที่จำเป็นในชีวิตหลายๆอย่าง ทำไมการผลิตเกี่ยวกับเกษตรกรรมจึงเน่าและเสื่อมถอยในพื้นที่ที่ขาดอุปกรณ์ที่เก็บเกี่ยวและการขนส่ง? ทำไมโรงงานและทุ่งน้ำมันนั้นมีการบำรุงรักษาที่ย่ำแย่มีผลต่อการผลิตที่ลดลง? นั้นก็เพราะว่า วัสดุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร โรงงานและฟาร์ม นั้นไม่ได้เป็นสิ่งส่วนตัวของบุคคล ซึ่งปราศจากการเสนอการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคล ผลกระทบราคาเหล่านั้นสัมพันธ์กับมูลค่าตลาดที่ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้และยังปราศจากตลาดราคาอยู่ มันเป็นไปไม่ได้ที่กิจกรรมการผลิตที่ประสานกันนั้นจะได้สินค้าและบริการที่ดีต่อผู้บริโภคที่จะเป็นประโยชน์ นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมคอมมิวนิสต์ถึงล้มเหลว
ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่ๆปัจจัยการผลิตนั้นเป็นกิจการส่วนบุคคลหรือเป็นเอกชน ปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ทุกๆวันตามการคำนวณของผู้ที่เป็นเข้าของมูลค่าทางการค้าที่เป็นปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งการซื้อ ขาย และ การค้ากับคนอื่นๆ ตามที่ต้องการ สิ่งที่มิซิสได้เขียนในปี 1920 ก็คือ
"Every step that takes us away from private ownership of the means of production and from the use of money also takes us away from rational economics."
แปลเป็นไทยก็คือ ทุกๆขั้นที่พาเราออกไปจากกรรมสิทธ์ส่วนบุคคลของปัจจัยการผลิตและเช่นเดียวกันกับจากการใช้เงินนั้นก็จะนำพาเราออกจากเหตุผลในทางเศรษฐศาสตร์
วันนี้ แม้ว่าคอมมิวนิสต์จะใกล้คืบเข้ามาให้รับรู้ได้สำหรับพวกเขาที่มองมิซิสเป็นฝ่ายขวา สำหรับ USSR สังคมคอมมิวนิสต์โดยปราศจากทรัพย์สินส่วนบุคคลและการคำนวณในทางการเงิน โควทเพิ่มเติมก็คือ
"floundering in the ocean of possible and conceivable economic combinations,"
"พวกนั้นยังคงดิ้นรนอยู่ในทะเลของความเป็นไปได้และโน้มน้าวเพื่อให้เศรษฐกิจที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้"
ตามที่มิซิสเล็งเห็นในปี 1920 ก็คือการบอกว่าคอมมิวนิสต์นั้น การปราศจากเข็มทิศของการคำนวณทางเศรษฐกิจ จะแสดงให้เราเห็นในตอนนี้ที่มิซิสแสดงให้เห็นถึงขั้นต่อๆไปว่าแนะนำการนำเสนอกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของปัจจัยการผลิตจะเป็นสิ่งที่สำคัญหรือไม่? (จึงเป็นความคิดในถัดๆไปว่า มันจำเป็นหรือไม่จำเป็นสำหรับเราในตอนนี้)
Ref. Foundation for Economic Education (แปลงาน)

Thursday, December 24, 2020

ในการเลือกตั้ง อบจ​. และสจ. ที่ผ่านมา มีการโกงการเลือกตั้งขณะนับบัตรหรือไม่?


https://www.easypolls.net/poll.html?p=5fe599eee4b0b495abb33039


ในการเลือกตั้ง อบจ​. และสจ. ที่ผ่านมา มีการโกงการเลือกตั้งขณะนับบัตรหรือไม่?
See results


ในการเลือกตั้ง อบจ​. และสจ. ที่ผ่านมา มีการโกงการเลือกตั้งขณะนับบัตรหรือไม่?

survey service

เรื่องของ 'สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์' โดย 'สมยศ พฤกษาเกษมสุข' ... กำเนิดแดงสยาม และหมุดหมาย อุดมการณ์ การต่อสู้ของ นปช.

https://www.facebook.com/watch/?v=481017479551286

เรื่องของ 'สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์' โดย 'สมยศ พฤกษาเกษมสุข' ...

กำเนิดแดงสยาม และหมุดหมาย อุดมการณ์ การต่อสู้ของ นปช.

"สุรชาติ" ขอปี 64 "บิ๊กตู่" เลิกชี้นิ้วด่า ปชช. โจทย์ยากรออยู่เพียบ ชี้อาจเป็นปีโคขวิด : Matichon TV

"สุรชาติ" ขอปี 64 "บิ๊กตู่" เลิกชี้นิ้วด่า ปชช. โจทย์ยากรออยู่เพียบ ชี้อาจเป็นปีโคขวิด : Matichon TV

https://youtu.be/GIbBRWFOEtk

ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ The Politics กรณีการรับมือโควิดของรัฐบาล ท่าทีการแถลงของนายกรัฐมนตรี และความท้าทายในปี 2564 ระบุ ปีหน้าขอ "บิ๊กตู่" เลิกชี้นิ้วต่อว่าประชาชน และเตรียมพร้อมเผชิญโจทย์ยากที่จะเข้ามา เปรียบอาจเป็นที่เรียกว่า ปีโคขวิด #ข่าวการเมืองมติชน #ThePolitics #MatichonTV สมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้เพื่อเข้าถึงสิทธิพิเศษต่างๆ https://www.youtube.com/channel/UC3S5... Official Matichon TV ติดตามข่าวสารได้ใน Web : http://www.matichon.co.th/default.php Facebook : https://www.facebook.com/MatichonOnline Instargram : https://instagram.com/matichononline Twitter : https://twitter.com/matichononline Google+ : https://plus.google.com/1092258946718...



ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน (จาก นปช.ยูเอสเอ original)

ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน PDF Print E-mail
User Rating: / 93
PoorBest 
Thursday, 25 March 2010 04:18

"สยามพารากอน" เป็นธุรกิจที่ครอบครัวภูมิพล เข้าไปลงทุนอยู่อีกบริษัทหนึ่ง ไม่แปลกอะไร ถ้าสยามพารากอน จะเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ดูจากรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ นี้ก็พอจะทราบได้ไม่ยาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรร ธน์
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มกราคม 2553)

จุดกำเนิดของศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มูลค่า 6 พันล้านบาท เกิดจากความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเม ืองไทย 2 ราย กลุ่มเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์ที่ร่วมทุนกันฝ่ายละครึ่ง

บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ดำเนิน ธุรกิจค้าปลีกมา 29 ปี บริหารโดยตระกูลอัมพุช ปัจจุบันบริหารงานโดยรุ่นที่ 2

โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือครองโดยคน ตระกูลอัมพุชเกือบทั้งหมด คือบริษัทอัมพุชโฮลดิ้ง จำกัด,สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, อัจฉรา รัตนทารส, บุษราคม ชันซื่อ, บริษัท สินไอยรา จำกัด, บริษัท สินปราการ จำกัด

สำหรับบริษัทสยามพิวรรธน์มีผู้ถือหุ้นหลาก หลายจากบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้น มีทั้งหมด 257 ราย ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นจะถือในนาม บุคคลมากกว่านิติบุคคล แต่ผู้ถือหุ้นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มธุรกิจ ค้าปลีก และธุรกิจสถาบันการเงิน

 




 


ผู้ถือหุ้นหลักประมาณ 8 กลุ่ม (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบ รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน ์) และผู้ถือหุ้นมากที่สุด คือบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5,336,700 หุ้น อันดับที่ 2 พระราชวงศ์ 4,542,300 หุ้น อันดับที่ 3 กลุ่มตระกูล จารุวัสตร์ 1,735,700 หุ้น

อันดับ 4 ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000หุ้น อันดับ 5 ธนาคารกรุงเทพ 903,800 หุ้น อันดับ 6 ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย 683,300 หุ้น อันดับที่ 7 ตระกูลภิรมย์ภักดี 403,360หุ้น อันดับ 8 ตระกูลศรีวิกรม์ 316,800หุ้น

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธ น์ ส่วนหนึ่งเป็น ผู้ประกอบการศูนย์การค้าอยู่แล้ว อย่างเช่นบริษัทเอ็ม บี เค ที่บริหารศูนย์การค้ามาบุญครอง หรือตระกูลจารุวัสตร์ บริหารศูนย์ การค้าสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงตระกูลศรีวิกรม์ บริหารธุรกิจค้าปลีกเกษรพลาซ่า อยู่บริเวณแยกราชประสงค์

สำหรับศูนย์การค้าสยามพารากอน บริหารงานโดย 2 บริษัท คือบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทสยามพารากอน รีเทล จำกัด

ทั้ง 2 บริษัท มีบริษัทสยามพิวรรธน์และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้นฝ่ายละ 50% บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีบทบาทบริหาร อาคารและดูแลร้านค้าเช่าภายนอกที่ไม่ได้อย ู่ในห้างสรรพสินค้า

ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้น คือบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 5,099,997 หุ้น, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล (น้องสาวชาญชัย จารุวัสตร์), ภาวิณี ศีตะจิตต์, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช และบริษัทเดอะมอลล์ ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์ จำกัด 4,899,996 หุ้น

ส่วนบริษัทสยามพารากอน รีเทล มีหน้าที่บริหารห้างสรรพสินค้า มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 9 ราย คือบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้น 5,099,996 หุ้น, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, สุทธิพงษ์ อัมพุช, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล, จินตนา กอวัฒนา และบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้งถือหุ้น 4,899,997 หุ้น

การถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปกับบริษัท สยามพิวรรธน์นั้นเป็นการแบ่งบทบาทการทำงาน ให้มีความชัดเจน โดยกลุ่มเดอะมอลล์จะเป็นหลักในการบริหารบร ิษัทสยามพารากอน รีเทล รวมทั้งมีผู้บริหารจากเดอะมอลล์และศูนย์กา รค้าดิเอ็มโพเรียมเข้ามาช่วย บริหารงาน โดยเฉพาะในส่วนของห้างสรรพสินค้าและซูเปอร ์มาร์เก็ตที่ผู้บริหารมีความรู้ และประสบ การณ์เชี่ยวชาญ มีศุภลักษณ์ อัมพุช และสุรัตน์ อัมพุชเป็นผู้บริหารหลัก สำหรับบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีชาญชัย จารุวัสตร์และชฎาทิพ จูตระกูล เป็นผู้บริหารหลักมีความชำนาญในการบริหารศ ูนย์การค้าอย่างสยามเซ็นเตอร์และ สยามดิสคัฟเวอรี่มาก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจจะซบเซาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งสอง บริษัทยังมีกำไรจากผลการดำเนินงาน (ดูตารางผลการดำเนินงานประกอบ)

ความร่วมมือของกลุ่มเดอะ มอลล์และบริษัทสยามพิวรรธน์ในการสร้างศูนย ์การ ค้าสยามพารากอน เป็นปรากฏการณ์ที่เล่าขานมาจวบทุกวันนี้

ในอนาคตทั้งสองบริษัทอาจจะสร้างความยิ่งให ญ่อีกครั้งก็เป็นได้

รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน 

กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธน์มีทั้ งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 257 ราย ผู้จัดการ 360 ํ จัดลำดับกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักไว้ 8 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

1. บริษัทเอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 5,038,000 หุ้น และ 298,700 หุ้น

2. พระราชวงศ์ 4,524,300 หุ้น

3. ตระกูลจารุวัสตร์
ชฎาทิพ จูตระกูล 29,400 หุ้น และ 700 หุ้น
เด็กหญิงชญาภา จูตระกูล 39,200 หุ้น
พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ 9,800 หุ้น
ชาลี จารุวัสตร์ 2,000 หุ้น
ชาญชัย จารุวัสตร์ 1,600 หุ้น

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000 หุ้น

5. ธนาคารกรุงเทพ 506,000 หุ้น และ 397,800 หุ้น

6. ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย
ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ 15,360 หุ้น
สุภวรรณ ล่ำซำ (ปันยารชุน) 4,320 หุ้น
บัณฑูร ล่ำซำ 4,320 หุ้น
บรรยงค์ ล่ำซำ 71,900 หุ้น
ธนาคารกสิกรไทย 298,700 หุ้น และ 288,700 หุ้น

7. ตระกูลภิรมย์ภักดี
บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด 353,500 หุ้น
วุฒา ภิรมย์ภักดี 13,750 หุ้น
วาปี ภิรมย์ภักดี 7,950 หุ้น
ปิยะ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
จวบจันทร์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
สันติ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
พรภิรมย์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น

8. ตระกูลศรีวิกรม์
สิริมา ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาญ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาย ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
กรกฎ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
บริษัทศรีวิกรม์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง 105,600 หุ้น

ที่มา: http://www.gotomanager.com/news/printnew s.aspx?id=84354