Monday, December 12, 2016

สภาประชาชน จะเริ่มต้นยังไง? มีแนวทางใดบ้าง?

เมื่อวานผมได้พูดเรื่องสภาประชาชน ในเชิงที่มาที่ไป สถานะ และประโยชน์อันพึงได้

ดร. เพียงดิน รักไทย 11 ธ.ค. 2559 ตอน สภาประชาชน กับ การปฏิวัติประชาชนแบบสันติ

https://youtu.be/g9F1Zpcr99k

https://youtu.be/sfvh5ezRLS0

https://youtu.be/XLDAQgRXl1s



วันนี้ผมพยายามร่างกรอบการเดินหน้าแบบคร่าว ๆ ให้พี่น้องร่วมพิจารณาครับ


สภาปวงชนไทย


หลักการและเหตุผล


การที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐบาลและผู้มีอำนาจรัฐทั้งมวล คือหลักการที่สำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับความสำคัญของการมีเสรีภาพที่จะเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร วิพากษ์วิจารณ์ และตั้งสมาคมต่าง ๆ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย เพื่ออำนาจและผลประโยชน์จะเป็นของประชาชนจริง ๆ ดังนั้น การรวมตัวกันของประชาชน ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาค และประเทศ จึงเป็นสิ่งที่มีแต่คุณสำหรับการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน ใช้และถูกกำกับโดยประชาชน (ผ่านตัวแทน) และเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงสู่ประชาชน


เป้าหมายของสภาประชาชน


สำหรับในเบื้องต้นนี้ การรวมตัวกันของปวงชนไทยทุกระดับ ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ใต้ระบอบเผด็จการที่คิดจะอยู่ต่อยาวนาน และได้วางรากฐานทางกำลังคน กฏหมาย และสรรพกำลังต่าง เพื่อจะประกันการสร้างระบอบเผด็จการให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยการเขี่ยประชาชนให้พ้นจากวงจรอำนาจและผลประโยชน์ที่จับต้องได้


การตั้งสภาระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ณ เวลานี้ จึงเป็นเพียงกุศโลบาย ไม่ใช่การหวังผลให้เกิดสภาฯ ที่เป็นทางการหรือถูกต้องตามกฎหมายที่เผด็จการครอบงำอยู่ แต่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

๑. เพื่อเป็นการเริ่มต้นการสร้างพลังของประชาชน ที่จับต้องได้จริง ๆ

๒. เพื่อเป็นเวทีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข่าวสาร สัมนา วิพากษ์วิจารณ์ทางวัฒนธรรม สังคมและการเมือง และสร้างเสริมประสบการณ์การเป็นพลเมืองผู้ยิ่งใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย

๓. เพื่อร่วมกันสอดส่องและหาทางแก้ปัญหาในท้องถิ่นของตน พิทักษ์ผลประโยชน์ท้องถิ่น และควบคุมกลไกรัฐในทุกระดับรอบตัว

๔. เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ถืออำนาจรัฐและกลุ่มผลประโยชน์ใด ๆ ในทุกระดับ ที่มีผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของตน

๕. เพื่อความร่วมมือ ช่วยเหลือ เจือจุนกัน ของประชาชน ด้วยการจัดทำกิจกรรมสร้างสรรค์ และการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในชุมชนของตน และร่วมมือกับสภาฯ ของท้องที่อื่น ๆ ในระดับที่ขยายกว้างยิ่งขึ้นในอนาคต


วิธีการปฏิบัติงาน


ในขั้นตอนนี้ ขอให้ริเริ่มในทุกระดับที่ทำได้ เช่น

๑. มองระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัดก็ได้ โดยไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะเป็นตัวแทนคนทุกคนหรือส่วนใหญ่ในระดับนั้นหรือไม่ ให้หาคนริเริ่มแล้วลงมือทำเลย

๒. เมื่อได้ตัวบุคคลแล้ว ให้หาเลือกตั้งประธาน รองประธาน เลขานุการ และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

๓. เริ่มเขียนเป้าหมาย และระเบียบการของกลุ่ม (สภา) และค่อย ๆ พัฒนาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเรื่อย ๆ

๔. เริ่มประสานกับสภาระดับเดียวกัน หรือระดับที่ต่ำกว่า หรือสูงกว่า จนสานกันเป็นสภาจังหวัด ซึ่งมีสมาชิกเป็นสภาอำเภอรวมกัน สภาอำเภอ ซึ่งมีสมาชิกทุกตำบล และสภาตำบล ที่มีสมาชิกทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

๕. เมื่อได้สภาระดับต่าง ๆ แล้ว ให้ลองจัดการประชุมรายสัปดาห์ เพื่อพูดคุยกันในประเด็นต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แนะนำข้างต้น หรืออื่น ๆ

๖. เป้าหมายในระยะหนึ่งปีคือ ให้สามารถสร้างสภาประชาชน ระดับจังหวัดให้ได้

๗. การกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมต่าง ๆ และการจัดการบริหารองค์กร ให้ใช้หลัก learning by doing โดยจะอาจจะมีที่ปรึกษาที่รู้เรื่องทางวิชาการด้านการจัดองค์กรและประชาธิปไตยไปช่วยเหลือครับ




No comments:

Post a Comment