Sunday, July 24, 2016

การรักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยใช้สมุนไพรไทย

การรักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยใช้สมุนไพรไทย

1. รับประทานยาขับพิษ ชื่อยา 5 ราก (แก้ว 5 ดวง)

2. รับประทานยาสมุนไพร ต้นสิรินธร หรือ 32 ประดง

3. หรือ ใช้ยาต้มแก้น้ำเหลืองเสีย พุพองตามร่างกาย ตามตำรับขนานนี้

- เหงือกปลาหมอ ทั้ง 5 หนัก 4 บาท

- ข้าวเย็นเหนือ หนัก 4 บาท

- ข้าวเย็นใต้ หนัก 4 บาท

- คงคาเดือด หนัก 4 บาท

- หัวร้อยรู หนัก 4 บาท

- ผีหมอบ หนัก 4 บาท

- ใบมะกา หนัก 4 บาท

- ฝักราชพฤกษ์ หนัก 2 บาท

ยา 1 หม้อเติมน้ำให้ท่วมยา เคี่ยวงวดเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยช้า วันละ 1 - 2 ครั้ง รับประทาน 3 - 5 วัน โรคก็จะหายได้ ยา 1 หม้อต้มรับประทานได้ 5 วัน แล้วเปลี่ยนยาใหม่

4. ประสานผิวภายนอก (แผลตามร่างกาย) ด้วย

ขนานที่ 1 ยาทาโรค เรื้อนกวาง หรือ สะเก็ดเงิน ใช้สมุนไพรที่มีส่วนผสมดังนี้

- เห็ดมูลโค หนัก 4 บาท

- เห็ดร่างแห หนัก 4 บาท

ใช้ส่วนผสมทั้ง 2 อย่างนี้ มาบดรวมกันให้เป็นผงละเอียด แล้วใช้ละลายกับน้ำมันงาใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล

ขนานที่ 2 ใช้รังหมาร่า (ค้างปีไม่เอา) ใส่ถ้วยแล้วบีบมะนาวใส่ลงไป ผสมทาวันละ 3 เวลา ไม่กี่วันก็หาย

ขนานที่ 3 ใช้กระเทียมสับผสมน้ำมันงา รักษาโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน เรื้อนกวาง ทาบริเวณที่มีอาการ

ขนานที่ 4 หญ้าดอกขาว ใบสด แก้กลากเกลื้อน เรื้อนกวาง ได้ดีมาก

อาหารเสริม น้ำมันปลา ช่วยลดการอับเสบของผิวหนังในโรคผิวหนัง เรื้อนกวาง หรือ สะเก็ดเงิน

ชื่อยา 5 ราก (แก้ว 5 ดวง)

สรรพคุณ เป็นยากระทุ้งพิษไข้

ตัวยามี รากชิงชี รากย่านาง รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร

ยาทั้งหมดนี้ เอาแต่ละอย่างเท่าๆ กัน รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ห่างกันประมาณ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง

ยาสมุนไพรสิรินธรวัลลี หรือ 32 ประดง

สรรพคุณทางยา สมุนไพรสามสิบสองประดง คือ รากและลำต้นนำมาตากแห้งใช้ฝนกับน้ำทารักษาฝีหนองใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ปวดตามข้อ ตามเอ็น(ประดงเส้นเอ็น) แก้ลมพิษ(ประดงไฟ) นำดอกมาตากแห้งใช้ดองกับสุราเพื่อช่วยให้เจริญอาหาร

น้ำมันปลา

สรรพคุณ ช่วยลดการอักเสบของผิวหนังในโรคผิวหนัง เรื้อนกวาง หรือสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

หญ้าดอกขาว

ชื่ออื่น หญ้าสามวัน ก้านธูป ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก หญ้าละออง หญ้าหมดน้อย หนวดหนา หญ้าดอกขิง หญ้าเหล่าฺฮก หญ้าเหนียมช้าง เซี่ยวไซ(จีน)

ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีขึ้นกระจายทั่วไปตามที่รกร้างข้างทาง ข้างบ้านทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะพบเห็นเป็นประจำ แต่ไม่ทราบว่าเป็นต้นอะไร คิดว่าเป็นต้นหญ้าที่หาประโยชน์ไม่ได้ 

ต้น ลำต้นตั้งตรงเป็นสัน มีขน สูง 1 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน คล้ายต้นพริก มีขนละเอียดทั้ง 2 ด้าน

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อทีปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วย ดอกย่อยจำนวนมาก เมื่อดอกบาน กลับดอกเป็น สีม่วงสด กลีบดอกเป็นฝอยๆ เป็นกระจุกคล้ายดอก ดาวเรือง แต่มีขนาด เล็กกว่ามาก เวลาดอกบานพร้อมๆ กันจะสวยงามมากมาก พอดอกแก่จะกลายเป็นสีขาว เบาคล้ายปุยนุ่น มีผลแห้งเล็กๆ มี 4-5 อัน ติดอยู่ หลุดร่วงง่าย เมื่อลมพัดจะปลิวกระจายไปทั่ว เมื่อไปตกดินบริเวณไหน จะแพร่ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ มีรสจืด ดอกมีรสขมเล็กน้อยและมีกลิ่นฉุนเล็กน้อยรากมีรสขม

สรรพคุณ ใช้ทั้งต้นต้มรับประทาน แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ใบสด ตำให้ละเอียด ปิดสมานแผล ทำให้เย็น หรือผสมกับน้ำนมคน กรองเอาแต่น้ำ หยอดตา แ้ก้ตาแดง ตาฝ้า ตาเปียก ตาแฉะ แพทย์จีน ใช้ทั้งต้นตำพอกนม แก้นมคัดนมหลง แก้บวม และดูดหนอง ส่วนภาคเหนือใช้ทั้งต้นและราก ตากแห้งบดเป็นผง รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง ห้ามเลือด ตำรายาไทยใช้ทั้งต้น แก้ไข แก้ไอ ดีซ่าน ปัสสาวะรดที่นอน ใบสด แก้กลาก เกลื้อน เรื้อนกวาง ได้ดีมาก ยาพื้นบานใช้ทั้ง 5 (รวมราก) 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ดื่มแก้ตกเลือด บำรุงเลือด ลดอาการปวด ลดความดัน

สนใจสอบถาม - ปรึกษาได้ที่

ศูนย์ชุมนุมว่านยาสมุนไพรไทย อ.บุ่งคล้า

11 ม.3 ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.หนองคาย

โทร. (042)499052 หรือ ปรึกษาได้ที่ อาจารย์ สุขพัฒย์โชค มหิศนันท์ มือถือ 08-3415-8055

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

#คำตอบของสุขภาพที่ดี
---------------------------------

No comments:

Post a Comment