Thursday, January 26, 2017

"ทำไมโลกนี้ถึงมีความงมงาย" ??


"ทำไมโลกนี้ถึงมีความงมงาย" ?? 

โดย ตาสีตาสา


เพราะระบอบการปกครองของทุกประเทศในสมัยโบราณ(ไม่เว้นแม้แต่ในยุโรป) จำเป็นต้องทำให้ประชาชนทุกคนเชื่อมั่นและศรัทธาว่าผู้ปกครองคือผู้มีบุญญาธิการสูงที่สุด เปรียบเสมือนกับเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือที่เราเคยได้ยินคำว่า"สมมุติเทพ"กันบ่อยๆนั่นเอง จึงเกิดการสร้างค่านิยมงมงาย แบบ"เทวนิยม" ให้ประชาชนกันอย่างมากมาย เพื่อทำให้ประชาชนเชื่อว่าความงมงายเหล่านี้เป็นเรื่องจริง จึงทำให้ประชาชนไม่แข็งข้อ( ต้องใช้คำว่าไม่มีความคิดที่จะแข็งข้อในสมองเลยเสียด้วยซ้ำ ) เพราะเชื่อสนิทใจว่าเทพองค์นี้คือผู้มีบุญญาสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เขาจึงสมควรแล้วที่จะเป็นใหญ่สูงสุดในอาณาจักรของเขา ... 


................... เวลาผ่านไปนับร้อยนับพันปี ค่านิยมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนระบบการปกครองแบบเก่านั้นได้ฝังรากลึก จากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นสันดาน เป็นจิตวิญญาน ทุกคนในยุคนั้นจะต้องมีค่านิยมแบบนี้ ใครที่ไม่เชื่อจะถูกรังเกียจ ถูกมองว่าเป็นพวกกบฏ แหกคอก จึงไม่มีใครกล้าที่จะไม่เชื่อ ถึงมีก็เป็นส่วนน้อยและไม่กล้าแสดงออกให้ใครรู้ ...... จนกระทั่งยุคสมัยของวิทยาศาสตร์ได้กำเนิดขึ้น โลกเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในอัตราทวีคูณ ต่างจากยุคแห่งความงมงายหลายร้อยเท่า ความเชื่อโบราณไม่อาจตอบคำถามอย่างมีเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ อย่างเช่น "หากบนฟ้ามีเทวดาจริง ทำไมเราจึงไม่เห็นพวกเขาสักที ในเมื่อเรามีเครื่องบิน หรือแม้แต่ยานอวกาศ ที่สามารถบินขึ้นไปบนฟ้า ทะลุก้อนเมฆ ที่เราเชื่อว่ามีเทวดาอยู่" เราก็มักจะได้คำตอบข้างๆคูๆว่า " เทวดามีอำนาจวิเศษ ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นได้" หรือ " เราไม่มีบุญพอที่จะมองเห็นเทวดาได้" อย่างนี้เป็นต้น เหล่านี้ทำให้คนจำนวนหนึ่งเริ่มกล้าที่จะไม่นับถือความเชื่องมงายโบราณอีกต่อไป อีกทั้งระบอบการปกครองแบบใหม่ๆก็ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาแทนที่ระบบการปกครองแบบเก่า โดยอาศัยตรรกะทางวิทยาศาสตร์ เพื่อจะทำให้ทุกคนในสังคมมีความเสมอภาค ยุติธรรม และพัฒนาสังคมมนุษย์ให้เจริญขึ้นตามกระแสโลกยุคใหม่ ความงมงายจึงค่อยๆหมดไป ปัจจุบันหลายประเทศเลิกมีค่านิยมที่โง่งมงาย และใช้วิทยาศาสตร์มาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ดังเช่นประเทศแถบยุโรป และอเมริกา เหลืออยู่ไม่กี่ประเทศหรอกครับที่ยังมีค่านิยมเก่าๆที่ถ่วงความเจริญแบบนี้อยู่ จึงทำให้ประเทศเหล่านั้นกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา 





No comments:

Post a Comment