ทราบหรือไม่? พรบ.ศาสนาอิสลาม 2 ฉบับ มีเนื้อหาสาระอย่างไร?
* * * * *
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ในการบริหารประเทศชาติ เมื่อศัตรูยึดกฎหมายได้ และออกกฎหมายมาบังคับพลเมืองได้ ประชาชนก็ถูกกำจัดด้วยกฎหมาย ไม่ตายก็เหมือนตาย ไม่สิ้นชาติก็เหมือนสิ้น
มูลเหตุที่พูดเช่นนี้ เพราะมีกฎหมายและพรบ.ของศาสนาอิสลามที่ประกาศใช้ทับกับกฎหมายไทยอยู่ในเวลานี้ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องเลย และส่วนมากก็คิดว่ามันเป็นพรบ.บริหารกิจการภายในของศาสนาอิสลามเอง คงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อคนในศาสนาอื่นมั้ง คนทั่วไปคงคิดเช่นนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น มันเป็นกฎหมายที่แอบแฝงเข้ามาอยู่ในอำนาจของรัฐ แล้วมีผลบังคับให้รัฐต้องทำตามพรบ.นั้นๆ ด้วย เช่น ต้องจัดสรรงบประมาณให้เขา การแต่งตั้งคนของเขาให้เป็นพระราชอำนาจ รวมไปถึงมีบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามอีกด้วย และอัตราโทษทั้งจำทั้งปรับในอัตราที่สูงผิดปกติ
ต่อไปนี้ เป็นบทวิเคราะห์และชี้ประเด็นที่เป็นการยึดครองประเทศไทยโดยกฎหมายอย่างไร ขอเริ่มที่พรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540
1. ด้านบุคลากรที่ถูกยกระดับด้วยกฎหมาย
ตามความในมาตรา 6 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย โดยให้นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นจุฬาราชมนตรีขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง และให้มีเงินเดือนตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ในมาตรา 8 ได้กำหนดหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีไว้ว่า
(1) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม(ซึ่งศาสนาอื่นๆ ไม่เคยมีอำนาจหน้าที่เช่นนี้มาก่อน) นี้เป็นเหมือนดาบอาญาสิทธิ์ว่า ทางราชการจะทำอะไรนั้นจะต้องหารือเขาเสียก่อน และห้ามทำเกินกว่าที่เขาเสนอความเห็นมา
(2) ถ้าจุฬาราชมนตรีไม่ให้คำปรึกษาเอง ยังมีอำนาจแต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามได้อีกด้วย ดังนั้น ไม่ว่าหน่วยงานราชการไหน จะทำอะไรที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเขาทั้งหมด ซึ่งศาสนาอื่น ๆ เช่นศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาหลักของประเทศยังไม่มีสิทธิ์เช่นว่านี้เลย และที่สำคัญคำว่า บทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามนั้น หมายถึงคัมภีร์อัลกูรอาน ที่เต็มไปด้วยการสั่งฆ่าผู้ไม่ได้นับถืออิสลาม หรือแม้แต่คนที่นับถือแล้ว จะหันหลังให้อิสลาม นั่นแสดงว่า ความรุนแรงกำลังจะตามมาแน่นอน
นอกจากนี้ มาตรา 16 ยังกำหนดให้โปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้น แต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และมาตรา 23 กำหนดให้จังหวัดใดที่มีมัสยิด 3 แห่งขึ้นไป ให้จังหวัดนั้นแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งจำนวน 9 ถึง 30 คน และให้มีประธาน รองประธาน เลขานุการ และตำแหน่งอื่นๆ ตามความจำเป็น และให้กระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อผู้ได้รับตำแหน่งต่างๆ ในราชกิจจานุเบกษา นี้คือ การกำหนดให้หน่วยงานราชการต้องเป็นผู้รับสนองงานของพวกตนเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ มาตรา 10 ยังกำหนดไว้ว่า (1) จุฬาราชมนตรี (2) กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (3) กรรมการอิสลามประจำจังหวัด (4) กรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีสิทธิ์สวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธยได้เหมือนกันหมดทุกคน นี้คือ การยกระดับคนของเขาให้สูงกว่าคนในศาสนาอื่นๆ
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ 11 ข้อ ขอนำมาเฉพาะที่สำคัญๆ คือ
(1) ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ข้อนี้คือตั้งบุคคลกำกับจี้ให้ 2 กระทรวงนั้นต้องจัดสรรงบประมาณต่างๆ ออกมาให้ศาสนาอิสลามตามที่กำหนดไว้ในมาตราต่างๆ อย่างไม่มีทางเลือก
(4) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด
(10) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนาและการศึกษาศาสนาอิสลาม
(11) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม
เหล่านี้ คือ คนของศาสนาอิสลามจะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการอยู่ตลอดเวลา จึงเท่ากับว่าเขาครอบงำหน่วยงานของรัฐได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วนั่นเอง
มาตรา 30 ได้กำหนดกรรมการอิสลามประจำมัสยิดไว้ดังนี้ (1) อิหม่าม เป็นประธานกรรมการ (2) คอเต็บ เป็นรองประธาน (3) บิหลั่น เป็นรองประธาน และทั้ง 3 คนนี้ ให้ถือว่าไม่เป็นนักพรตหรือนักบวช เพื่อให้สามารถเล่นการเมืองได้ (4) สัปปุรุษประจำมัสยิด โดยกำหนดให้มี 6 -12 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
สรุปว่า ตามพรบ.อิสลามฉบับนี้ บุคลากรของศาสนาอิสลามทุกคนได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง มีเงินเดือนประจำตำแหน่ง มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มปรมาภิไธยได้ และเป็นที่ปรึกษากำกับกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ มันเป็นพรบ.ที่เป็นเหมือนกฎหมายทับซ้อนกับกฎหมายไทยอีกอันหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ทราบ
2. ผลประโยชน์ที่ไม่ต้องลงทุน
มาตรา 5 กำหนดว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรานี้ เป็นการกำหนดหน้าที่ให้ทั้ง 2 กระทรวงหลักออกกฎระเบียบต่างๆ มาสนองงานของศาสนาอิสลามได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตามคำปรึกษาเสนอแนะของคณะกรรมการกลางอิสลาม เช่น มาตรา 11 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการตั้งอิสลามวิทยาลัยขึ้นได้ในทุกจังหวัด เมื่อเห็นสมควร ข้อนี้ถ้ามีคนอิสลามขึ้นมาเป็นเจ้ากระทรวงจะมีอิสลามวิทยาลัยขึ้นได้ทุกจังหวัดเลย และจะรวดเร็วมากๆ สิ่งที่ซ้ำใจที่สุด คือ ทุกอย่างใช้งบประมาณหลวงทั้งหมด ตั้งแต่ซื้อที่ดิน ค่าก่อสร้าง อุปกรณ์การเรียน รวมไปถึงค่าสอนที่เป็นครูอิสลาม แต่สอนศาสนาอิสลาม เรียนภาษาอิสลาม
ต่อมา มาตรา 12 การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกระทรวง การจัดตั้งการร
มาตรา 12 การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกระทรวง การจัดตั้งการร่วม และการเลิกมัสยิดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การสร้างมัสยิดในข้อนี้ ก็เช่นเดียวกันใช้งบประมาณหลวงทั้งหมด และกรรมการประจำมัสยิดก็มีเงินเดือน เรียกว่า ใช้ของหลวงฟรี ด้วยผลประโยชน์มหาศาลเช่นนี้ที่พวกเขาไม่ต้องลงทุนเลย มีแต่ได้ล้วนๆ พวกเขาจึงเร่งหาสถานที่สร้างมัสยิดให้ครอบคลุมทั้งประเทศและเป้าหมายคือ ให้ครบทุกตำบล
นอกจากใช้งบหลวงแล้ว ผู้รับเหมาสร้างมัสยิดจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพวกเขาเอง โดยมัสยิดแต่ละแห่งใช้งบประมาณเป็นหลัก 100 ล้านบาท และเงินเหล่านี้พวกเขาก็ได้เองทั้งหมด
ถ้าพรบ.ฉบับนี้เปลี่ยนชื่อจากพระราชบัญญัติบริหารกิจการศาสนาอิสลาม มาเป็นพระราชบัญญัติบริหารกิจการพระพุทธศาสนาแล้ว พวกเราชาวพุทธไม่ต้องเหนื่อยกับการบอกบุญใครๆ อีกต่อไป แม้นั่งอยู่ที่บ้านหรือนอนอยู่ที่วัดก็จะมีเม็ดเงินต่างๆ ไหลเข้ามาหาอยู่ตลอดเวลา ศาสนาคงจะเจริญรุ่งเรืองมาก ถ้าเป็นเช่นที่ว่านี้ มันคงจะสบายไปตลอดชาติเลยชาวพุทธเรา
3. พรบ.ส่งเสริมการฮัจย์ 2524
อีกฉบับหนึ่งของพรบ.อิสลาม คือ พรบ.ส่งเสริมการฮัจย์ มาตรา 6 ได้กำหนดหน้าที่ให้กระทรวงต่าง ๆ ของไทยทั้งหมด 13 กระทรวงด้วยกัน ในการมีส่วนช่วยการไปทำพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดิอารเบียของคนมุสลิม ประกอบด้วย
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
3. ปลัดกระทรวงคมนาคม
4. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
5. ผู้แทนกระทรวงต่างประเทศ
6. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
7. ผู้แทนกรมการปกครอง
8. ผู้แทนกรมตำรวจ
9. ผู้แทนกรมประชาสงเคราะห์
10. ผู้แทนกรมประมวลข่าวกลาง
11.ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
12. ผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
13. ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ อีกไม่เกิน 4 คน
นอกจากนี้
มาตรา 14 ยังกำหนดให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการโดยตำแหน่ง และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ อีกด้วย มีหน้าที่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการหรือที่กรรมการมอบหมาย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ
จากทั้ง 2 มาตรานี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากต้องมาบริการชาวมุสลิมที่ต้องไปฮัจย์ทุกปี และจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้พวกเขาไปฟรี ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะมีกฎหมายมาตราสำคัญบังคับไว้ให้ต้องทำ คือ
มาตรา 15 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 5 (1) หรือ (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 16 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 5 (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 17 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ เงื่อนไข หรือมาตรการใดๆ ซึ่งออกตาม
มาตรา11 (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ในการไปฮัจย์นี้ก็คล้ายๆ กับการสร้างมัสยิด คือมีบริษัทมารับเหมาช่วงในการรับจัดบริการขนส่งให้กับผู้ไปฮัจย์ด้วย
โดยมาตรา 5 (1) (2) (3) กำหนดให้มีการรับจัดบริการขนส่ง ซึ่งผู้ที่ไปจะถือไปเองไม่ได้ ต้องมีบริษัทรับเหมาขนสัมภาระให้ตลอดการเดินทาง และบริษัทเหล่านี้ ก็เป็นของพวกเขาเอง ไม่ต่างไปจากการสร้างมัสยิดเลย
สรุปว่า ข้าราชการไทยทุกตำแหน่งถูกอิสลามยึดหมดแล้ว ที่สำคัญ คือ งบประมาณมหาศาลที่ใช้ไปกับกิจการของอิสลามทั้งสร้างมัสยิด ทั้งการไปฮัจย์ และอื่นๆ แต่ละปีหลายพันล้านบาท หรืออาจเป็นหมื่นล้านบาท
ขอให้ท่านทั้งหลายหลับตานึกภาพดูจะรู้ว่า ประเทศไทยเรา ที่บรรพบุรุษกอบกู้มา และรักษาไว้ จะมาสิ้นชาติเอาในยุคของพวกเรานี้เองหรือ เศร้าสุดๆๆๆ อนิจจา
No comments:
Post a Comment