"ปัจจุบันเป็นผลของอดีต และ ปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอนาคต"
"โกหกให้อนุชนรุ่นหลังฟังดูดีในสายตาคนไม่รู้"
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นทหารรับใช้ เปิดประตูรถยนต์ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัยเป็นนายกรัฐมนครี เคยไปรบที่ไหนสมรภูมิใดครับ?
ช่างพูดจนเกินจริงขนาดในภาพด้านล่าง
ยกตนข่มผู้สื่อข่าวและประชาชนที่เกิดไม่ทัน
เอาความดีตรงไหนมากล่าวตามภาพ
แค่คิดก็ผิดหรือ?
ทำงานอาชีพข้าราชการทหาร ไม่ใช่ จะมีสิทธิเหนือคนอื่น เกษียณอายุ 12 ปี ยังอยู่บ้านพักข้าราชการทหารในกรมทหารราบที่๑๑ บางเขน
สงสัยไม่กล้าออกมาอยู่นอกกรมฯกลัวตายม้าง?
==============================
ประวัติจากวิกีพีเดีย
ค้นหามาลงให้อ่านและอ้างอิงตามข้อมูลที่หาได้
ผมมักพบกับคนที่คุยด้วยในสังคมที่เป็นจริงและสรุปคำโต้แย้งได้พอมีสาระสำคัญตามนี้
สลิ่มชอบเถียงว่า อ้างวิกีพีเดียเชื่อถือไม่ได้
(ใครพูดแบบนี้หันธง "สลิ่มแท้100%)
===========================+
ด้วยสนใจที่มาของแต่ละบุคคลที่เป็นข่าว
จึงต้องสืบค้นหาอ่านเท่าที่ค้นหาได้
===========================
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้า สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไป ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2557
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548
ก่อนหน้า ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ถัดไป สนธิ บุญยรัตกลิน
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546
ก่อนหน้า พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
ถัดไป ไพศาล กตัญญู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (71 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนา พุทธ
การเข้าเป็นทหาร
สังกัด กองทัพบกไทย
ปีปฏิบัติงาน พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2548
ยศ พลเอก
บังคับบัญชา กองทัพบก
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หรือ บิ๊กป้อม ลูกสาว วรรณนิศา วงษ์สุวรรณ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 -) รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน รองหัวหน้าและประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1] รองประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ , อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [2] และอดีตผู้บัญชาการทหารบก
ประวัติ แก้ไข
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ นายพงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ และนาย พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ ลูกสาว วรรณนิศา วงษ์สุวรรณ[3] ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง[4]
การศึกษา แก้ไข
พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 พ.ศ. 2512 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 พ.ศ. 2521 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556 ได้รับมอบเกียรติบัตรพิเศษ วิชาการคอมมิวนิสต์ จากวิทยาลัยสังคมนิยมจีน รุ่นที่ 15
การทำงาน แก้ไข
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เริ่มรับราชการทหาร[5] ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
พ.ศ. 2514 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2519 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหาราบที่ 12 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
ในปีพ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่ง เป็นคณะดำเนินคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย[6]
ในปีพ.ศ. 2558เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[7]และเป็นรองประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
ภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบและรางวัลที่ได้รับ แก้ไข
ราชองครักษ์เวร ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน
ผู้อำนวยการ กองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยวังไกลกังวล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545 จนถึง 30 กันยายน 2546
ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ 1 เมษายน 2539 จนถึง 1 ตุลาคม 2540
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าบริเวณพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด(ภาคตะวันออก) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2545-2546)
ประธานกรรมการโครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดราชบุรี (2545-2546)
ประธานนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 (ทบ.)
ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปีพุทธศักราช 2540 สาขาการพัฒนาทางทหาร
ชีวิตและการเมือง แก้ไข
พล.อ.ประวิตร มีชื่อเล่นว่า "ป้อม" จึงได้รับการเรียกขานเล่น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กป้อม" เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 17 รุ่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล ระหว่างเรียนมีรหัส 7647
พล.อ.ประวิตร ถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย
พล.อ.ประวิตร เป็นผู้ที่มีชื่อมาตั้งแต่แรกว่าจะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้วตั้งแต่ นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป ถึงแม้นว่าทางฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลก็ตาม
ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ในวันที่ 12 เมษายน เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทรวงมหาดไทยในช่วงเวลาเที่ยง เมื่อกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้บุกเข้าไปในพื้นที่กระทรวง พล.อ.ประวิตรซึ่งอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ต้องวิ่งหลบหนีเพื่อความปลอดภัยด้วย
ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่างๆที่ถูกครหาด้วย[8] ในปี พ.ศ. 2557 หลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[9] และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านความมั่นคง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 แต่งตั้ง นายปฏิคม วงษ์สุวรรณ ลูกพี่ลูกน้องพลเอกประวิตร เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์[10]
ชีวิตส่วนตัว พล.อ.ประวิตร ครองตนเป็นโสดมิได้เคยผ่านการสมรสมาก่อน[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
เหรียญชัยสมรภูมิ (กรณีสงครามเวียดนาม)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่1)
เหรียญราชการชายแดน
เหรียญจักรมาลา
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
อ้างอิง แก้ไข
↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131, ตอนพิเศษ 181 ง , 15 กันยายน พ.ศ. 2557, หน้า 2
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
↑ http://www.rta.mi.th/COMMAND/command17/_history/his_pravit.htm ประวัติพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณผู้บัญชาการทหารบก
↑ ฉายานักการเมืองปี 53
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
↑ จาก "ผบ.ทบ.โสดสนิท" คนแรก สู่ "รมว.กลาโหมที่ไม่มีภริยา" คนแรก ในประวัติศาสตร์
↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖) เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546
↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2551
แหล่งข้อมูลอื่น
อ่านในภาษาอื่น
Last edited 16 days ago by an anonymous user
No comments:
Post a Comment