"เหตุที่พุทธสูญสิ้น ที่อินเดีย"
โดย...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) .....
โดย...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) .....
๑.ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน
ชาวพุทธใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย บางทีก็กว้างเลยเถิดไป จนลืมหลัก ไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้ เลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขา จนศาสนาของตัวเองหายไปเลย เป็นเหตุสำคัญให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไป (คำสอนฮินดูปลอมปน+มุสลิมปราบฆ่าเผาวัดตำรา-บังคับเปลี่ยนศาสนา)
๒.จุดที่เสื่อม คือ ชาวพุทธลืมหลักกรรม
ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก ไปหวังพึ่งเทพเจ้า-ฤทธิ์-ปาฏิหาริย์ ไม่กระทำด้วยตนเอง ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ความเสื่อมไป
๓.เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น
ภัยกระทบกระเทือนส่วนรวม ชาวพุทธไม่น้อยที่วางเฉย ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไปว่าไม่มีกิเลส ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็ว่ามีกิเลส อันนี้ อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว และจะกลายเป็นเหยื่อเขา คติที่ถูกต้องนั้น สอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า "พระอรหันต์ หรือ ท่านผู้หมดกิเลสนั้น เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองแล้ว จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่"
๔. การฝากศาสนาไว้กับพระอย่างเดียว (ฆราวาสทอดธุระ)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน" เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา แทนที่จะรักษาทรัพย์สมบัติของเรากลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย
ที่มา: ทองมั่น แสนไชย
ชาวพุทธใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย บางทีก็กว้างเลยเถิดไป จนลืมหลัก ไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้ เลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขา จนศาสนาของตัวเองหายไปเลย เป็นเหตุสำคัญให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไป (คำสอนฮินดูปลอมปน+มุสลิมปราบฆ่าเผาวัดตำรา-บังคับเปลี่ยนศาสนา)
๒.จุดที่เสื่อม คือ ชาวพุทธลืมหลักกรรม
ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก ไปหวังพึ่งเทพเจ้า-ฤทธิ์-ปาฏิหาริย์ ไม่กระทำด้วยตนเอง ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ความเสื่อมไป
๓.เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น
ภัยกระทบกระเทือนส่วนรวม ชาวพุทธไม่น้อยที่วางเฉย ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไปว่าไม่มีกิเลส ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็ว่ามีกิเลส อันนี้ อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว และจะกลายเป็นเหยื่อเขา คติที่ถูกต้องนั้น สอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า "พระอรหันต์ หรือ ท่านผู้หมดกิเลสนั้น เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองแล้ว จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่"
๔. การฝากศาสนาไว้กับพระอย่างเดียว (ฆราวาสทอดธุระ)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน" เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา แทนที่จะรักษาทรัพย์สมบัติของเรากลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย
ที่มา: ทองมั่น แสนไชย
No comments:
Post a Comment